BTimes Weekend: ‘DEESAWAT’ EP.2 สร้างแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ด้วยความดื้อ พ่วงการตลาดมโน (Re-run)

2053
0
Share:

Aug 29, 2021

เดินเกมบุกตลาดด้วยกลยุทธ์มโนมาร์เก็ตติ้ง พร้อมแนวคิดดื้อเท่านั้นที่จะทำให้ DEESAWAT ประสบความสำเร็จ

โชว์รูมDEESAWAT

การเปลี่ยนผ่านธุรกิจจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่คุณจิรชัยก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าทุกสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงนั้นมีโอกาสเป็นไปได้และจะเกิดผลในทางที่ดี จนทำให้ต้นกล้า DEESAWAT เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง และได้รับความเชื่อถือยอมรับในที่สุด

โรงไม้ของ DEESAWAT

โรงงานที่พ่อเหลือไว้ให้คือ Access ที่ไม่ต้องลงทุน คุณอยากทำอะไรคุณลองได้นะครับ คุณหาตลาดอะไรคุณลองได้ เพราะฉะนั้นใช้ฐานที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ การเป็นลูกต้องรู้จักเล่น เล่นกับของเล่น เราสร้างของเล่นของตัวเราเอง ดังนั้นการทดลองคือสิ่งที่ดีที่สุด ลองดูครับ

โรงงานถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่คุณพ่อสร้างไว้ให้ เพราะฉะนั้นคุณจิรชัยจึงเลือกใช้ประโยชน์จากสมบัติที่มีด้วยการทดลองตลาด รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดี เพื่อทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด และคุ้มค่าที่สุดสำหรับเขา โดยมองลูกค้าและผู้ร่วมงานทุกคนเหมือนเพื่อน เพราะเชื่อว่าทุกคนมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลงานเกิดความสุข และความสำเร็จ

เฟอร์นิเจอร์ของ DEESAWAT

มโนมาร์เก็ตติ้ง หรือการมโนให้ชัด แล้วจิ้มให้ตรงจุด คือกลยุทธ์หลักที่ DEESAWAT ใช้ในการบุกตลาด ฉีกกฎการทำ แบรนด์ด้วยการไม่ติดโลโก้ แต่เลือกที่จะใส่ DNA ความตั้งใจ และการใส่ใจในทุกรายละเอียดการผลิตเข้าไปในทุกชิ้นงาน กระทั่งสามารถทำให้ผู้บริโภคจดจำลายเซ็น DEESAWAT ได้ แม้ไม่เห็นโลโก้

คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ เจ้าของ DEESAWAT

ผมเคยคิดว่าในอนาคต ผมอยากตั้งคอนเซ็ปต์ให้ตัวเองเป็นยังไง คือผมอยากให้ DEESAWAT เป็น Rolex ของเฟอร์นิเจอร์ เป็นของที่ส่งทอดจากรุ่นต่อรุ่นครับ

ชาเล้นจ์อีกอย่างนึงที่คุณจิรชัยปักเป้าไว้คือการทำให้ DEESAWAT กลายเป็น Rolex ของเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนมรดกที่คนรุ่นก่อนสามารถส่งต่อไปให้กับคนอีกรุ่นได้ รวมถึงเปิดเซอร์ไพรส์ของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานไม้ และเป็นผู้นำเทรนด์การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ด้วยการออกเฟอร์นิเจอร์คอลเลคชันใหม่รับยุคโควิด-19 ผสานความเป็น ECO และ Sustainable เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมเคลือบสาร Antibacterial และดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในรูปแบบ Functional เน้นการ Reuse ด้วยการถอดและประกอบไปใช้ใหม่ในแบบอื่นๆ ได้ตามความต้องการในอนาคต

BTimes