• คนไทยเดือด หลังเกิดกระแสดราม่าลงมติเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของประเทศไทยจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon
    20
    Feb

    คนไทยเดือด หลังเกิดกระแสดราม่าลงมติเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของประเทศไทย

    เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สร้างความหัวร้อนให้กับคนไทยอยู่ไม่น้อยจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ จากกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ หนึ่งในนั้นคือการแก้ไขชื่อเมืองหลวงของประเทศไทยจาก Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok เป็น Krung Thep ...
  • 19
    Feb

    เมื่อโควิดไม่ฉุกเฉิน ไทยเตรียมถอดการรักษาโควิด-19 ออกจาก UCEP 1 มีนาคมนี้

    จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการถอดการรักษาโควิด-19 ออกจากยูเซป (UCEP COVID-19) หรือสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งเท่ากับว่าโรคโควิด-19 จะกลายเป็นโรคที่ไม่ฉุกเฉิน จากกระแสข่าวที่ออกมาทำให้ประชาชนเกิดความกังวลว่าหลังจากนี้จะต้องรับมือกับการค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งมีราคาแพงด้วยตนเอง ส่งเป็นคำถามกลับไปว่ารัฐบาลตัดสินใจผิดจังหวะไปหรือเปล่า ? 1 มีนาคมนี้ อยากรักษาโควิด-19 ฟรี ต้องไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์เท่านั้น ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ...
  • ยุคมืดดำเมื่อ ผู้หญิง ไทยตกเป็นเหยื่อการถูก คุกคาม ไม่เว้นวัน นั่นเพราะกฎหมายไม่เข้มพอ หรือคนมีศีลธรรมตกต่ำ
    13
    Feb

    ยุคมืดดำเมื่อหญิงไทยตกเป็นเหยื่อไม่เว้นวัน นั่นเพราะกฎหมายไม่เข้มพอ หรือคนมีศีลธรรมตกต่ำ

    ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวน่าสลดหดหู่เกิดขึ้นกับผู้หญิงหลากหลายกรณี ทั้งเหตุที่เกิดจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการถูกคุกคามทางด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้มีการตั้งคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมที่มักกล่าวอ้างว่าตัวเองคือเมืองพุทธกันแน่ วัฒนธรรมและความเชื่อเรื่อง ‘ผู้ชายเป็นใหญ่’ ในสังคมไทยถูกหล่อหลอมจนกลายเป็นความเคยชิน ที่บางครั้งก็เกิดการคุกคามหรือกดขี่ข่มเหงเพศหญิงโดยไม่รู้ตัว จนบางกรณีสร้างความตระหนกตกใจ เนื่องจากเกิดความยินยอมเพียงเพราะบุคคลที่ประพฤติผิดนั้นเป็นคนในครอบครัว ลุกลามเกิดเป็นปัญหาสังคมที่เรื้อรังไร้การแก้ไขมาอย่างยาวนาน และหากไม่มีการแก้ไขหรือลบความเชื่อเดิมให้หมดไป ความหวังที่จะเห็นสังคมไทยมีความเท่าเทียมคงดูหมดหวังตั้งแต่ยังไม่เริ่มเป็นแน่ อ้างอิงข้อมูลบางส่วนที่น่าตกใจจากเวทีเสวนาในหัวข้อ “การยุติความรุนแรงต่อเด็ก – ละเลย เลยรุนแรง” ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศ ...
  • สาธิต มธ. เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ หลักสูตร การศึกษา รูปแบบใหม่ที่เน้นความหลากหลายทางความคิด
    12
    Feb

    เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรการศึกษารูปแบบใหม่ที่เน้นความหลากหลายทางความคิด

    กำลังเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์กับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับข้อกังวลต่อการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ ซึ่งสิ่งที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ ณ ขณะนี้ คือเรื่องที่โรงเรียนอนุญาตให้เด็กไม่ต้องใส่เครื่องแบบมาเรียน ไม่มีการบังคับเรื่องทรงผม หรือสีผม และได้เปิด 8 วิชาใหม่ที่ปลูกฝังให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ในอนาคต เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง จนล่าสุดนายกถึงขั้นกับสั่งให้จับตาหลักสูตรดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 8 วิชาใหม่ของสาธิต มธ. บางคนว่าหลักสูตรทันสมัยน่าเรียน แต่บางคนก็มองว่าเป็นการล้างสมอง ? “การศึกษาต้องไม่เป็นทุกข์ของแผ่นดิน” ...
  • มาเฟีย แท็กซี่ เมือง ภูเก็ต ปัญหาเรื้อรังขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้
    6
    Feb

    มาเฟียแท็กซี่เมืองภูเก็ต ปัญหาเรื้อรังขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้

    กลายเป็นประเด็นร้อนรับปีใหม่กันเลยทีเดียว สำหรับการท่องเที่ยวเมืองภูเก็ตบ้านเรา จากกรณีที่นายเฆวินทร์ พล ทายาทคนโตของหมอสุนิล ทันตแพทย์มหาเศรษฐีพันล้าน ที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ต และได้อัดคลิปวิดีโอแสดงความไม่พอใจ หลังถูกแท็กซี่ที่ภูเก็ตเรียกค่าโดยสารถึง 600 บาท ซึ่งเจ้าตัวไม่โอเค จึงปฏิเสธการใช้บริการ เพราะมองว่าเป็นการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ย้อนไปในวันเกิดเหตุ นายเฆวินทร์ได้เดินทางไปยังร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ขณะที่กำลังจะกลับที่พักก็ได้กดแอปพลิเคชันเพื่อเรียกรถ โดยแอปฯ ดังกล่าวแสดงอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 168 ...
  • บทเรียน น้ำมันดิบรั่ว หายนะของธรรมชาติจากเงื้อมมือมนุษย์
    5
    Feb

    บทเรียนน้ำมันรั่ว หายนะของธรรมชาติจากเงื้อมมือมนุษย์

    เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา จากกรณีที่ท่อน้ำมันดิบใต้ทะเลบริเวณอ่าวมาบตาพุดรั่ว ส่งผลให้มีคราบน้ำมันกระจายลอยกลางอ่าวไทยเป็นบริเวณกว้าง แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ข่าวนี้กลับไม่ได้รับความสนใจมากเท่าไรนัก ทั้งยังมีประเด็นข่าวอื่นที่มาแรงจนกลบกระแส กลับกันเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วที่เกิดขึ้น ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่น่ากังวลไม่น้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากก้าวพ้นปีใหม่มาได้ไม่นาน ดูเหมือนว่าธุรกิจภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีแววเริ่มฟื้นตัว ผู้คนต่างออกมาใช้ชีวิตกันอย่างคึกคัก แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงพุ่งสูง แต่ก็ไม่อาจกีดขวางแผนการท่องเที่ยวที่อัดอั้นมานานได้ อีกทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบ Test ...
  • ฟื้นสัมพันธ์ในรอบกว่า 30 ปี ระหว่าง “ไทย” และ “ซาอุดีอาระเบีย”
    30
    Jan

    ฟื้นสัมพันธ์ในรอบกว่า 30 ปี ระหว่าง “ไทย” และ “ซาอุดีอาระเบีย”

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย โดยการเยือนในครั้งนี้เป็นการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ...
  • เมื่อ ทางม้าลาย กลายเป็นแค่สีทาถนน ต่อยอดกลายเป็นปมสร้างความหวาดระแวงที่เลือกไม่ได้ของคนเดินเท้า
    29
    Jan

    เมื่อทางม้าลายกลายเป็นแค่สีทาถนน ต่อยอดกลายเป็นปมสร้างความหวาดระแวงที่เลือกไม่ได้ของคนเดินเท้า

    ปัญหาทางเท้าและอุปสรรคระหว่างทางของคนเดินถนนในประเทศไทย เป็นสิ่งที่ถูกปล่อยเบลอมาเป็นเวลานานจนกลายเป็นความเคยชิน ทั้งที่ปัญหาบางอย่างเป็นเรื่องที่มีความผิดร้ายแรงในประเทศที่เจริญแล้ว จากกรณีข่าวตำรวจควบคุมฝูงชนขับขี่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์พุ่งชนแพทย์หญิง ขณะกำลังข้ามถนนตรงทางม้าลาย กลายเป็นประเด็นดังที่ทำให้คนไทยหันมาตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เร่งออกมาสร้างผลงานในการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุกันอย่างคึกคัก ไม่เพียงแค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วภูมิภาคก็เริ่มมีการปรับปรุง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา แม้จะมีผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากว่าการกระทำทั้งหมดเป็นการแก้ไขแบบวัวหายล้อมคอก พร้อมตั้งคำถามว่าในเมื่อผู้คนยังคงมีพฤติกรรมเช่นเดิม ปัญหานี้จะหมดไปเพียงข้ามคืนด้วยการนำสีมาทาพื้นถนนให้เข้มขึ้นจริงหรือ? แม้หลายคนจะเริ่มเห็นถึงความสำคัญของกฎระเบียบและการให้ความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น แต่ก็ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่ยังคงใช้ชีวิตอย่างเคยชินอยู่ ซึ่งสิ่งนี้สร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนร่วมทาง ทั้งทางเท้าและทางถนนเป็นอย่างมาก จนทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ...
  • เมื่อ การศึกษา ของเด็ก ไทย ต้องอยู่ในกำมือผู้ใหญ่ อนาคตของประเทศชาติจะเป็นอย่างไร
    23
    Jan

    เมื่อการศึกษาของเด็กไทยต้องอยู่ในกำมือผู้ใหญ่ อนาคตของประเทศชาติจะเป็นอย่างไร

    ตลอดสัปดาห์ที่ผ่าน มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเด็กไทยอยู่หลากหลายประเด็นที่สร้างความสงสัย กลายเป็นความไม่พอใจ จนเกิดการวิจารณ์อย่างดุเดือดในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ประกาศงดรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน รุ่นที่ 25 ประจำปี พ.ศ.2565 เนื่องจากได้รับงบประมาณจัดสรรที่ไม่เพียงพอ ที่สุดหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหู สวทช. ก็ได้รีบออกมาชี้แจงถึงสาเหตุของการไม่รับสมัครในครั้งนี้ว่าเป็นเพียงการชะลอกิจกรรมการเข้าค่ายเท่านั้น จากกรณีดังกล่าวต่างมีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก โดยคนส่วนใหญ่รู้สึกเสียดายโอกาสแทนเด็กๆ เนื่องด้วยโครงการนี้มีเป้าหมายในการค้นหาเด็กและเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาทักษะสู่การก้าวไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ ...
  • 22
    Jan

    คนไทยกุมขมับอีกจนได้ เมื่อประกันโควิด-19 เจอเชื้อ แต่ไม่จ่าย และไม่จบ

    ยืดเยื้อมานานพอสมควรกันเลยทีเดียว สำหรับปัญหาประกันโควิด-19 เจอ-จ่าย-จบ เพราะธุรกิจประกันภัยหลายเจ้าต้องการขอยกเลิกกรมธรรม์ “เจอ-จ่าย-จบ” เนื่องจากแบกรับค่าใช้จ่ายที่คนยื่นเคลมกันไม่ไหว เกิดเป็นเรื่องเป็นราวถึงขั้นขึ้นศาล เพราะกลัวเจ๊ง ทำเอาทางด้านผู้ที่ซื้อประกันต่างก็ได้รับผลกระทบจากกการเคลมประกันไม่ได้ แล้วถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ใครจะยอมเสียตังค์ซื้อประกันกันอีก ? กรมธรรม์ ‘เจอ-จ่าย-จบ’ เขย่าวงการประกันภัย ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่เป็นช่วงโรคโควิด-19 กำลังระบาดใหม่ๆ ธุรกิจประกันภัยต่างออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ ...