กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุระดับ 2 ซินลากู จะกระทบ 44 จังหวัด พร้อมจะอ่อนกำลังลงในวันนี้

790
0
Share:

น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน ซินลากู) (SINLAKU)” ฉบับที่ 10 ระบุว่า พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน ซินลากู) มีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.ปัว จ. น่าน ประเทศไทย กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ (พายุระดับ 1) ในวันนี้ (3 ส.ค. 63)
.
อนึ่ง ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ เข้าสู่พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน ซินลากู) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย พื้นที่ที่คาดว่าจะได้ผลกระทบมีดังนี้
.
วันที่ 3 ส.ค.63 ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และตาก
.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และชัยภูมิ
.
ภาคกลาง: นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี และราชบุรี
.
ภาคตะวันออก: ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
.
ภาคใต้: ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
.
วันที่ 4 สิงหาคม 2563
.
ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น และชัยภูมิ
.
ภาคกลาง: นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี และราชบุรี
.
ภาคตะวันออก: ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
.
ภาคใต้: ระนอง พังงา ภูเก็ต เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
.
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรงดออกจากฝั่ง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จนถึงวันที่ 4 ส.ค.63
.
สำหรับพายุระดับ 3 (โซนร้อน ฮากูปิต) บริเวณด้านตะวันออกของเกาะไต้หวัน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีนในช่วงวันที่ 3-4 ส.ค. 63 ซึ่งพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th 
หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง