คณะรัฐมนตรีอนุมัติแพ็คเกจกว่าแสนล้านบาท เพื่อกู้วิกฤติไวรัสโควิด 19

733
0
Share:

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาชุดที่ 1 ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว .
โดยมาตรการทางการเงิน ครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟท์โลน ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเตรียมวงเงินไว้ 150,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 2% ระยะเวลา 2 ปี วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท/รายมาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ แก่ลูกหนี้ ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบสย.
.
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการอำนวยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถอำนวยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งธปท.ได้ออกประกาศมาแล้วมาตรการเสริมจากสำนักงานประกันสังคม โดยเตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไว้ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ในระยะเวลา 3 ปี ให้กู้แก่ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานประกันสังคม
.
ส่วนมาตรการทางภาษี มาตรการแรกคือ มาตรการคืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการในประเทศ ได้แก่ 1.มาตรการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้ประกอบการเป็นการชั่วคราว เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ จาก 3% เหลือ 1.5% เริ่มเม.ย. – ก.ย. 2563
.
2. มาตรการภาษีเพื่อลดดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อพิเศษ 1.5 แสนล้านบาท ด้วยการให้นำไปลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า ให้ใช้สำหรับรายจ่ายค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 เม.ย. – 31 ธ.ค. 2563
.
3. มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพการจ้างงานที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด19 โดยให้สถานประกอบการนำรายจ่าย ค่าจ้างลูกจ้างในธุรกิจที่เป็นผู้ประกันตัน มาหักรายจ่ายได้ 3 เท่า ตามเกณฑ์และวิธีการที่สรรพากรจะกำหนดขึ้นมา
.
4. การเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศให้เร็วขึ้น เฉพาะผู้ประกอบการที่ดี โดยหากเป็นผู้ที่ยื่นแบบชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ต จะคืนให้ภายใน 15 วัน ส่วนการยื่นที่สำนักงานสาขาของสรรพากรจะคืนให้ภายใน 45 วัน
.
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่นๆ เช่น 1. มาตรการบรรเทาการจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ, การคืนเงินประกันค่าใช้ไฟฟ้า หรือ ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะมีการพิจารณาเงื่อนไขเหมาะสมต่อไป
.
2. กองทุนประกันสังคม ให้ลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งประกันสังคมและกระทรวงแรงงานจะไปหารือกันในรายละเอียดต่อไป ซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 3 หรือ 6 เดือน
.
3. มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น การลด ชะลอ การเก็บค่า ค่าธรรมเนียม อาทิ ค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกรมธนารักษ์จะพิจารณาลดค่าเช่าให้
.
4. มาตรการช่วยเหลือตลาดทุน โดยให้ผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการชั่วคราวได้เพิ่มอีก 2 แสนบาท ดังนั้นจาก 2 แสนบาทเดิมก็จะเป็น 4 แสนบาท สำหรับเงินลงทุนในระยะเวลาตั้งแต่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2563 โดยอาจจะพิจารณาขยายเวลาให้อีกหากมีความจำเป็นในอนาคต
.
ที่สำคัญครม.ยังพิจารณาให้มีการกำหนดวงเงิน 2 หมื่นล้านบาทสำหรับเตรียมความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อาทิ จากการถูกเลิกจ้างงาน หรือ สถานประกอบการที่กระทบ พนักงานทำงานไม่เต็มที่ การเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร ก็จะเป็นวงเงิน 2 หมื่นล้านบาทในขั้นต้น ซึ่งกระทรวงการคลังจะหารือกับสำนักงบประมาณในการกำหนดรูปแบบวงเงินนี้และขอบเขตการใข้ให้ครอบคลุม ซึ่งในหลักการครม.ได้อนุมัติแล้ว เพื่อเป็นกองเงินไว้ใช้จ่ายได้ตามความจำเป็น และยังเห็นชอบยกเว้นอากรขาเข้า ของการนำเข้าวัสดุที่เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย ก็จะยกเว้นให้เป็นเวลา 6 เดือน