คนไทยยังมีอัตราการดื่มนมต่ำสุดในอาเซียน

1009
0
Share:

นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทน ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่าตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 มิ.ย.ของทุกปี เป็น “วันดื่มนมโลก”หรือ“World Milk Day” เพื่อให้ประเทศและองค์กรต่างๆให้ความสำคัญและร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคนมนั้น
.
ทางอ.ส.ค.ในฐานะเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมภายใต้ตราสินค้า“ไทย-เดนมาร์ค” และเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากนมโคสดแท้ 100% ของเกษตรกรไทยให้อยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป
.
ที่สำคัญภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ สุขภาพของคนไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอ.ส.ค.เชื่อมั่นว่าการดื่มนมจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค แต่คนไทยมองว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อรองท้อง และดื่มเพื่ออิ่มท้อง จึงทำให้ความถี่ในการดื่มนมต่อวันไม่สูงมากนัก
.
ผู้บริโภคบางกลุ่ม บางวัย ยังมีหลีกเลี่ยงไม่ดื่มนมเพราะเชื่อว่านมทำให้อ้วน ซึ่งถือเป็นความเชื่อที่ผิดๆ จากข้อมูลดังกล่าวจึงทำให้การดื่มนมถูกจำกัดเฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น
.
ดังนั้น การที่อ.ส.ค.ร่วมกับกรมปศุสัตว์ในการทำกิจกรรมและร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารจากนมเพื่อรณรงค์ให้คนไทยหันมาบริโภคนมมากขึ้นภายใต้เมนูหลากหลาย และจะเร่งรณรงค์ผลักดันให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มนมให้กับประชาชนได้ดื่มนมตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงอายุ นมมีคุณภาพดี เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ทดแทนการดื่มเครื่องดื่มอื่นที่ไม่มีประโยชน์ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง อาทิ เครื่องดื่มชา และน้ำอัดลม

สำหรับ สถิติจากการดื่มนมของประชากรในแต่ละทวีปทั่วโลก ปรากฏว่า อัตราเฉลี่ยการบริโภคนมของประชากรทั่วโลกอยู่ในระดับ 113 ลิตร/คน/ปี
.
เมื่อเจาะในแต่ละทวีปพบว่า
1)ยุโรป 274 ลิตร/คน/ปี
2)อเมริกาเหนือ 237 ลิตร/คน/ปี
3)อเมริกาใต้ 124 ลิตร/คน/ปีใน
.
ด้านทวีปเอเชียมีอัตราการบริโภคเฉลี่ย 66 ลิตร/คน/ปี – สิงคโปร์ 62 ลิตร/คน/ปี และญี่ปุ่น 90 ลิตร/คน/ปี จีน 38 ลิตร/คน/ปี
.
ส่วนไทย อยู่ในอัตราเฉลี่ยต่ำสุดในอาเซียน คือ 18 ลิตร/คน/ปี หรือเพียง 2 แก้วต่อสัปดาห์เท่านั้น ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก โดยทางกระทรวงเกษตรมุ่งหวังที่จะเร่งผลักดันให้คนไทยสามารถมีอัตราการดื่มนมเพิ่มขึ้นเป็น 25 ลิตร/คน/ปี