คลังสั่งการบสย.ตั้งงบ 3 หมื่นล้านบาท ค้ำประกันปล่อยกู้ให้ SME 4.5 หมื่นล้านบาท

768
0
Share:

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่า ที่ประชุมได้สรุป 3 มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากโควิด-19 เพิ่มเติม
.
มาตรการที่ 1. ได้สั่งการให้บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. เตรียมวงเงินสำหรับค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 3 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ 4.5 หมื่นล้านบาท ในช่วง 2-3 เดือนนี้ ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเฉพาะหน้า ให้เอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง แล้วค่อยพิจารณาการช่วยเหลือเรื่องเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม โดยมาตรการนี้สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
.
มาตรการที่ 2. การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนในระบบ โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ สสว. เป็นผู้ดำเนินการ โดยขนาดกองทุนอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท จะใช้วงเงินจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท โดยจะให้ สสว. ปล่อยกู้เงื่อนไขผ่อนปรนให้ผู้ประกอบการคนตัวเล็กรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีสถานะปกติแต่เข้าไม่ถึงแหล่งทุน และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นหนี้เสียกับระบบสถาบันการเงินด้วย โดยจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า
.
มาตรการที่ 3. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. และธนาคารออมสิน ไปเร่งหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการโรงแรมเท่านั้น ว่าจะมีแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง และจะต้องใช้งบประมาณเท่าใด โดยให้เร่งพิจารณาและให้นำกลับมาเสนออย่างเร่งด่วน
• .
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รายละไม่เกิน 10-15 ล้านบาท เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบให้มากที่สุด โดยคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้น 4-5 หมื่นราย
.
ด้านนายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รายละไม่เกิน 10-15 ล้านบาท เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบให้มากที่สุด โดยคาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้น 4-5 หมื่นราย