ชีวิตนักเรียนไทย! ยุคโควิด-19 นักเรียนยากจนในไทยแบกค่าใช้จ่ายเรียนหนังสือกว่า 4 เท่าของเด็กมีฐานะร่ำรวย

606
0
Share:

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เปิดเผยว่า ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE พบว่า ประเทศไทยมีเด็กนักเรียนยากจนพิเศษราว 1.17 ล้านคน หรือ 18% ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มยากจนที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาสูงกว่ากลุ่มครอบครัวที่ร่ำรวยถึง 4 เท่า

โดยสรุป ยิ่งจนยิ่งแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งในครอบครัวยากจนพิเศษที่มีรายได้เฉลี่ย 1,077 บาทต่อเดือนต่อคน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงถึง 2,000-6,000 บาท ต่อปี หรือแบกรับ 2.5 ถึงกว่า 5.5 เท่า

.

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค กล่าวว่า ปัญหาเด็กนักเรียนเรียนไม่ถึงฝั่ง ไม่ใช่แค่ปัญหาการศึกษา แต่กระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย ล้วนเป็นผลพวงจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายนอกภาวะปกติ เช่น ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าอุปกรณ์มือถือ ที่เด็กนักเรียนจากจนพิเศษต้องแบกรับมากขึ้น ควบคู่กับรายได้ของผู้ปกครองที่ลดหายอย่างมาก

.

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้คำนวณว่า หากประเทศไทยไม่มีเด็กหลุดจากระบบ หรือสามารถเรียนหนังสือได้จนจบในระบบการศึกษา จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยเพิ่มขึ้นถึง 3%

ขณะที่อดีตนักเศรษฐศาสตร์จากยูเนสโก ประเมินว่า หากประเทศไทยแก้ปัญหาเด็กนักเรียนหลุดจากระบบการศึกษาได้ จะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า 228,000 ล้านบาทต่อปี