ดัชนีเชื่อมั่นฯ ดิ่ง! ต่ำสุดรอบ 22 ปี 7 เดือน คาดจะมีความเสียหายหนักกว่าโควิดรอบแรก

469
0
Share:

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2564 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อยู่ที่ 46 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 271 เดือนหรือ 22 ปี 7 เดือน เนื่องจากมีความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทย

.

รวมถึงความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและการฉีดวัคซีนให้ที่ล่าช้าส่งผลให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากและขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัว แม้ว่ามาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะโครงการ “เราชนะ” และโครงการต่างๆ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ

.

การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงย่ำแย่จากวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยต้องติดตามว่ารัฐจะมีเเนวทางการป้่องกันเเละเเก้ไขปัญหาอย่างไร รวมถึงการได้รับวัคซีนของประชาชนจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัว 0.0-1.5% ได้

.

ทั้งนี้เคยประเมินความเสียหายจากโควิดรอบนี้ไว้ 2-3. แสนล้านบาท แต่ขณะนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายในช่วงไตรมาส 2 ถึง 3-4.5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะเดือนพ.ค.จะกระทบกว่า 1.5-2 แสนล้านบาท ขณะที่ภาครัฐจะอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 2 จำนวน 1 แสนล้านบาท เพื่อลดค่าครองชีพ และทยอยเติมเงิน ภายหลัง ซึ่งถึงว่ายังน้อยไป เมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจมากถึง 4-5 แสนล้าน โดยคาดว่ามาตรการยังไม่สามารถตุ้นเศรษฐกิจได้