ดันขึ้น VAT! แบงก์ชาติชี้เพิ่มเงินคนชราพ้นระดับยากจน 3,000 บาท รัฐบาลต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%

356
0
Share:

ดร.นฎา วะสี หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ เปิดเผยงานวิจัยหัวข้อระบบจัดการรายได้ผู้สูงอายุ : ควรปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เพียงพอและยั่งยืน พบว่าหากรัฐบาลมีนโยบายลดความยากจน รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพตามภาวะเงินเฟ้อ และเส้นชี้วัดความยากจนที่ 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งจะสร้างภาระผูกพันระยะยาว ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่ม VAT มากกว่า 2 เท่า หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 16.9% โดยสามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะไว้ที่ระดับ 60% ได้

ดังนั้น ภายใต้สมมุติฐานดังกล่าว หากเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุจะต้องถูกปรับตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรักษานโยบายและบทบาทของภาครัฐบาล รัฐบาลจำเป็นจะต้องปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากปัจจุบัน 7% ขึ้นมาอยู่ที่ 9% ภายใต้ตัวเลขเบี้ยยังชีพ 600 บาทต่อคนต่อเดือน นั่นหมายถึง การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากฐานในปัจจุบัน

หากรัฐบาลตัดสินใจปรับขึ้นเบี้ยยังชีพให้ไปเท่ากับระดับเส้นความยากจนของผู้สูงอายุทุกคน โดยใช้วิธีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เพื่อมาจัดสรรงบประมาณส่วนนี้ ย่อมส่งผลต่อราคาสินค้าที่จะมีราคาแพงขึ้น ภาวะดังกล่าวจะส่งผลกลับมากระทบต่อผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง ทำให้นโยบายนี้ไม่ได้ลดความยากจนมากเท่าที่ตั้งใจไว้

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยในอีก 20 ปีข้างหน้า สัดส่วนจาก 3% เป็น 26% ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้ทั้งภาครัฐ และเอกชนมีความกังวลกับภาวะความยากจนของครัวเรือนสูงอายุ ท่ามกลางความยั่งยืนด้านการคลังของรัฐบาล ในปัจจุบัน มีกลไกในการดูแลรายได้ของผู้สูงอายุในไทย ได้แก่ เบี้ยยังชีพคนชรา กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ทั้งหมดล้วนใช้งบประมาณของรัฐบาลทั้งสิ้น