ด่วน! ซิปเม็กซ์ Zipmex Thailand สั่งระงับถอนเงินบาท-คริปโตฯ ทุกกรณีเป็นการชั่วคราว

379
0
Share:

Zipmex Thailand แถลงการประกาศบนเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการระงับการเพิกถอนเงินบาท และคริปโทฯ ว่า เนื่องด้วยสถานการณ์ต่างๆ รวมถึง ความผันผวนของตลาด เหตุการณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม ตลอดจนปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากคู่ค้าทางธุรกิจหลัก อันอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท เพื่อรักษาเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม บริษัทฯ จะระงับการถอนทุกกรณีชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม บริษัทขออภัยและขอขอบคุณสำหรับความเข้าใจและความอดทนของท่านในระหว่างนี้
.
โดยที่ Zipmex การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้าทุกท่านคือ เรื่องสำคัญ

การประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาท และคริปโทฯ ดังกล่าว ส่งผลให้ซิปเม็กซ์ ไทยแลนด์ เป็นแพลตฟอร์มซื้อจายเงินคริปโตฯ รายแรกของประเทศไทยที่ต้องหยุดให้บริการชั่วคราว

ขณะที่ สถานการณ์เงินคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ต้นปีนึ้ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 พบว่า ปัจจัยลบอื่นๆ ที่ถาโถมเข้าใส่ตลาดเงินคริปโทเคอร์เรนซีประกอบด้วยหลายอย่าง ได้แก่ นักลงทุนถอนการลงทุนออกจากสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญภาวะถดถอยครั้งใหญ่ และการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่มากถึง 0.75% ในกลางสัปดาห์นี้ ซึ่งมากสุดในรอบ 28 ปี ปัจจัยต่อมา คือการขาดความเชื่อมั่น หรือขาดความมั่นใจต่อการลงทุนเงินคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลก รวมถึงการขาดความไว้วางใจในแพลตฟอร์มการซื้อขายเงินคริปโทเคอร์เรนซียักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่ง

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา ทรี แอร์โรว์ แคปปิตอล หรือ 3AC ซึ่งเป็นกองทุนประกันความเสี่ยงเงินคริปโทเคอร์เรนซีชื่อดังระดับโลกแห่งหนึ่งจากประเทศสิงคโปร์ ประกาศล้มละลาย และร้องขอต่อศาลล้มละลายในสหรัฐอเมริกาภายใต้กฎหมายฉบับที่ 15 เพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนดังกล่าว ส่งผลให้เจ้าหนี้ต่างชาติสามารถปกป้องทรัพย์สินในตลาดสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 วอยเยเจอร์ ดิจิตอล ซึ่งเป็นธุรกิจนายหน้าซื้อขายวงการตลาดเงินคริปโทเคอร์เรนซีชื่อดังระดับโลกจากประเทศแคนาดา ประกาศธุรกิจล้มละลาย และร้องขอต่อศาลขอพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาตรา 11 ในสหรัฐอเมริกา จากการเปิดเผยทรัพย์สิน และหนี้สิน พบว่า วอยเยเจอร์มีเจ้าหนี้รวมกันกว่า 100,000 ราย กลุ่มธุรกิจบริษัทวอยเยเจอร์ ประกอบด้วย 3 บริษัทย่อย ได้แก่ วอยเยเจอร์ ดิจิตอล โฮลดิ้งส์ บริษัทวอยเยเจอร์ ดิจิตอล แอลแอลซี และบริษัทวอยเยเจอร์ ดิจิตอล จำกัด ทั้งหมดเข้าสู่ภาวะล้มละลายอย่างสมบูรณ์แบบ

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เซลเซียส เน็ตเวิร์กส์ (Celsius Networks) แพลตฟอร์มปล่อยกู้เงินคริปโทเคอร์เรนซีชื่อดัง ประกาศล้มละลาย และขออำนาจศาลในสหรัฐอเมริกามีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาครา 11 ซึ่งในขณะนี้ได้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปยังศาลในสหรัฐอเมริกาแล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เซลเซียส เน็ตเวิร์กส์ ประกาศระงับบริการถอน การแลกเปลี่ยน และการโอนระหว่างบัญชีทั้งหมดเป็นชั่วคราว เนื่องจากตลาดมีความผันผวนรุนแรง “เราดำเนินการดังกล่าว เพื่อที่จะปรับปรุงสถานะของบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้นและเพื่อให้สามารถทำตามพันธกรณีด้านการถอนสินทรัพย์สกุลเงินคริปโทฯ ทางบริษัทกำลังพยายามอย่างเต็มที่โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับลูกค้า