ธนาคารเจพี มอร์แกน สั่งปลดพนักงาน 1,000 คนในธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ ที่ถูกช่วยเหลืออุ้มกิจการ

275
0
Share:

ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เข้าซื้อและควบรวมกิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตามการเจรจาตกลงของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประกาศเตรียมปลดพนักงานมากถึง 1,000 คน หรือราว 15% ของพนักงานในปัจจุบัน
.
ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยว่า ธนาคารได้แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานะการเป็นพนักงานของพนักงานธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ ตลอดเวลานับตั้งแต่ตัดสินใจเข้าซื้อกิจการตามข้อตกลงกับรัฐบาล
.
ย้อนกลับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยองค์กรการคลังแห่งนวัตกรรมและการคุ้มครองการเงิน หรือ CDFPI รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แถลงว่า ทางการสหรัฐอเมริกามีมติเข้าควบคุมกิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครซาน ฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากการเปิดประมูลเข้าซื้อกิจการธนาคารดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ
.
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีมติให้ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค เข้าซื้อและควบรวมกิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB อย่างเบ็ดเสร็จ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค จะรับผิดชอบและดำเนินธุรกรรมการรับฝากเงิน รวมถึงเงินฝากที่ยังไม่ได้รับการประกันเงินฝาก และสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB
.
สำหรับสาขาทั้งหมด 84 แห่งของธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB จะเปิดให้บริการตามปกติในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2023 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกาในชื่อใหม่เป็นธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค
.
การล่มสลายของธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ นับเป็นการล่มสลายของกิจการธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ด้านสถาบันประกันเงินฝากแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ FDIC เปิดเผยว่า ได้คาดการณ์ความเสียหายของการประกันเงินฝากจะมีมูลค่าสูงถึง 31,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.085 ล้านล้านบาท
.
ธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB เป็นธนาคารระดับภูมิภาค มีขนาดใหญ่ลำดับที่ 14 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลายเป็นธนาคารที่ถูกปิดตัวลงเป็นแห่งที่ 3 ในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีนี้เป็นต้นมา โดยรายแรก คือ ธนาคารซิลลิคอน วัลเล่ย์ แบงก์ หรือ SVB ปิดตัวลงในเดือนมีนาคม เป็นธนาคารระดับภูมิภาค มีขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ต่อมาธนาคารซิกเนเจอร์ แบงก์ หรือ SB เป็นธนาคารระดับภูมิภาค ปิดตัวลงในช่วงต้นเดือนเมษายน มีขนาดใหญ่อันดับที่ 29 ของสหรัฐอเมริกา
.
อย่างไรก็ตาม กิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ปิดตัวลงในครั้งนี้ นับเป็นธนาคารแห่งที่ 4 ที่ล่มสลายลงของโลก โดยนอกเหนือจากทั้ง 3 ธนาคารดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา ยังมีธนาคารเครดิต สวิส เอจี ซึ่งเป็นธนาคารระดับสากล และมีขนาดใหญ่ลำดับที่ 45 ของโลกต้องปิดกิจการในเดือนเมษายนผ่านมา
.
ในช่วงเช้าวันนี้ 1 พฤษภาคม 2023 กระทรวงการคลัง สหรัฐอเมริกา ธนาคารสหรัฐอเมริกา หรือ FED สถาบันประกันเงินฝากแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ FDIC ร่วมกันเปิดเผยว่า ขณะนี้ เมื่อเวลา 21.30 น. ตามเวลานิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา หรือตรงกับเวลา 8.30 น. เวลาไทย มีธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา 3 แห่งที่เสนอประมูลซื้อกิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ได้แก่ พีเอ็นซี ไฟแนนเชียล เซอร์วิส กรุ๊ป ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และ ซิติเซ่นส์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป อินคอร์ปอเรชั่น
.
หน่วยงานทั้ง 3 แห่งของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จะสรุปผลการเปิดประมูลซื้อกิจการธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ภายในเวลาเที่ยงคืน หรือเร็วกว่านั้นของคืนวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน ซึ่งจะตรงกับเวลาเที่ยงตรงของวันนี้ 1 พฤษภาคม ตามเวลาไทย
.
หากผลการประมูลซื้อกิจการดังกล่าวไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของทางการสหรัฐอเมริกา หน่วยงานทั้ง 3 แห่ง จะเข้าควบคุมกิจการของธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับที่ 13 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะกลายเป็นธนาคารแห่งที่ 3 ในสหรัฐอเมริกาที่เกิดวิกฤตการบริหารจัดการธุรกิจธนาคาร หลังจากเมื่อเดือนมีนาคมผ่านมา ธนาคารซิลลิคอน วัลเล่ย์ แบงก์ หรือเอสวีบี และธนาคารซิกเนเจอร์ แบงก์ หรือเอสบี ถูกทางการสหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมกิจการเบ็ดเสร็จ
.
ในไตรมาสที่ 1 ผ่านไป ธนาคารเฟิร์สท รีพลับลิก แบงก์ หรือ FRB เกิดปัญหาการสูญเสียความน่าเชื่อถือของลูกค้าที่ฝากเงินในธนาคารดังกล่าว ส่งผลให้มีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร FRB รวมกันเป็นจำนวนมากถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ปัญหาดังกล่าวเป็นลูกโซ่ลุกลามมาจากวิกฤต 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอสวีบี และธนาคารเอสบี ถูกควบคุมกิจการเบ็ดเสร็จเมื่อเดือนผ่านไป
.
การช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์อื่นๆในสหรัฐอเมริการวมกัน 11 แห่ง ที่มีกับธนาคาร FRB ด้วยการเติมเงินฝากรวมกันถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.05 ล้านล้านบาทให้กับธนาคาร FRB นั้น ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
.
ทั้งนี้ ธนาคาร FRB ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 หรือเมื่อ 38 ปีผ่านมา ต่อมาในปี 2007 ถูกซื้อควบรวมกิจการกับธนาคารเมอร์ริล ลินช์ มูลค่าธนาคาร FRB ตกต่ำอย่างมากเมื่อวันศุกร์ผ่านมา หลังจากราคาหุ้นของธนาคารดังกล่าวดำดิ่งมากถึง 50% ส่งผลให้มูลค่าธนาคาร FRB เหลือเพียง 557 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 19,495 ล้านบาท จากที่เคยมีมูลค่ามากถึง 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.4 ล้านล้านบาทเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021