ผู้ว่าแบงก์ชาติยอมรับเศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าประเทศอื่น รออีกปีฟื้นตัวเท่าก่อนโควิด

407
0
Share:
เศรษฐกิจ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น เนื่องไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 65 ยังเป็นการฟื้นตัวแบบเปราะบาง ไม่รวดเร็ว และฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกับในแต่ละกลุ่ม( sector) หรือเป็นการฟื้นตัวในลักษณะของ K-shape และการที่ราคาสินค้าขยับขึ้น เราจะไม่เข้าสู่ ภาวะ “Stagflation” แต่อย่างใด เพราะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวแม้ไม่สูง แต่เงินเฟ้อสูงก็อยู่ในกรอบไม่ได้สูง แต่สิ่งที่กระทบค่อ ชาวบ้านมีรายจ่ายเพิ่ม ทั้งที่รายได้ จากการจ้างงานยังไม่กลับมา ซึ่งอาจกระทบหนี้ครัวเรือนที่ขณะนี้มีสัดส่วนสูง

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวต่อไปว่า คาดว่ากว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวเทียบเท่ากับในระดับก่อนเกิดโควิด-19 น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 โดยปีนี้คาดจีดีพีขยายตัว 3.4% ในขณะที่ปีหน้าขยายตัว 4-5% ในขณะเดียวกัน ต้องจับตา 4 ปัจจัยที่อาจเป็นตัวทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้สะดุดได้ นั่นคือ 1. การระบาดโควิดสายพันธุ์ใหม่หากมีตัวอื่นมาเพิ่มเติม นอกเหนือจากโอไมครอน ซึ่งโอไมครอนนั้น มีผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนักเนื่องจากแม้ระบาดง่ายแต่ไม่รุนแรงแบบมาเร็วไปเร็ว ยกเว้นจะมีสายพันธุ์มาใหม่ที่กระทบการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี 2. อัตราเงินเฟ้อ 3.การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้หรือ NPL และ 4.ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น เชื้อ เนื้อหมู ราคาน้ำมันนั้น ธปท.มองว่าไม่น่าเป็นห่วง และยังเชื่อว่าทั้งปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากจนหลุดกรอบก็มีมาตรการที่พร้อมจะนำออกมาใช้ดูแล โดย ปีนี้คาดเงินเฟ้อเฉลี่ย 1.7% ปีหน้าจะลดลงเฉลี่ย 1.4 %