“มนัญญา ”ชงตั้งมาตรฐาน ISO โรงงานผลิตสารเคมีเกษตร

931
0
Share:

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ส่งร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้ให้กรมวิชาการเกษตร ไปยกร่างเพื่อคุมระบบการผลิตสารเคมีเกษตรตั้งแต่ต้นทางคือการนำเข้า การผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อม และร่วมถึงการดูแลสุขอนามัยของพนักงานผู้ผลิต ตลอดจนการกำหนดให้ร้านค้าต้องปฏิบัติร่วมถึงการจัดเก็บสารเมื่อหมดอายุ เพื่อไม่ให้ตกค้างในตลาด เป็นการดำเนินการตามพรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 ถือว่าเป็นการคุ้มครองประชาชนเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าสารเคมีเหล่านี้ต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
.
โดยให้เวลาในการปรับปรุงบริษัท โรงงานผู้ผลิต 2 ปีนับแต่วันประกาศมีผลบังคับใช้ ร่วมถึงการคุมการโฆษณาที่เกินจริง และกำหนดด่านที่อนุญาตให้นำเข้าสารเคมีเกษตร โดยกรมวิชาการได้นำร่างประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นตามกฏหมายเมื่อ 27 ม.ค. – 12 ก.พ. 2563 รวม 15 วัน พบว่ามีผู้มาแสดงความเห็น 10,258 คน เห็นด้วย 9,590 คน หรือ 93.49% ไม่เห็นด้วย 668 ราย หรือ 6.51%
.
พร้อมได้ส่งร่างให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาเมื่อวานนี้ และคาดว่าจะมีการเรียกประชุมภายในเดือนนี้ ซึ่งเมื่อมีหลักเกณฑ์สถานที่ผลิตที่กำหนดให้โรงงานที่ผลิตต้องมีมาตรฐานไอเอสโอ จะทำให้ทุกโรงงานที่ประสงค์จะผลิตสารเคมีเกษตร ต้องมีการรับรองมาตรฐานไอเอสโอ 3 ฉบับคือมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 // มาตรฐานะจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 และปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO /IEC 17025 ด้านการวิเคราะห์อันตราย
.
โดยที่ผ่านมา 20 ปี การกำหนดมาตรฐานนี้ไม่เคยมี แต่ดิฉันเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญ ประเทศไทยเป็นแหล่งการเกษตร ทำไมปล่อยให้โรงงานผลิตสารเคมีเกษตรไม่มีมาตรฐานไอเอสโอ ทั้งที่ใช้กับสินค้าเกษตร ในขณะที่โรงงานผลิตอิฐ หิน ปูน ทราย ยังต้องมีไอเอสโอ ดังนั้นคิดว่าเรื่องนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมีคนขึ้นมารุมค้านหรือต่อว่า หรือกล่าวหากันลอยๆ เพราะดิฉันไม่มีผลประโยชน์กับใคร
.
ด้านนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรและประชาชนก็ยังสับสนในเรื่องของการจัดการสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิดที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติเมื่อ 22 พ.ย. 2562 ที่ออกมายังไม่มีการรับรองมติ เป็นผลให้ต้องไปใช้มติเดิมเมื่อ 23 พ.ค. 2560 และประกาศกระทรวงเกษตรฯ 5 เม.ย. 2560 ที่จำกัดการใช้และต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ใช้ และอบรมการใช้ พาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส ขอให้กรมวิชาการเกษตร ทำรายละเอียดเพื่อให้ขึ้นไว้ในเวบไซด์ของกรมเพื่อให้ประชาชนรับทราบ
.
ขณะที่เครือข่ายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งได้มาร่วมรับฟังคำแถลงกล่าวว่า ได้เตรียมยื่นมาตรา 157 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงอุตสาหกรรม อีกทั้งเรียกร้องว่าขอให้ กรมวิชาการเกษตร ทำรายละเอียดในการปฏิบัติสำหรับประชาชนและเกษตรกรที่จะใช้สารเคมี 3 ตัวด้วยเพราะในขณะที่กลุ่มเครือข่ายที่ติดตามและเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ก็ยังสับสนในเรื่องนี้ จึงเห็นว่าหน่วยราชการไม่ควรจะนิ่งเฉยกับการชี้แจงต่อประชาชน