ยังไม่เจอดอย! หมอประสิทธิ์ชี้ไทยยังไม่เจอติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์

422
0
Share:

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ว่าจากข้อมูลสหประชาชาติ พบว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาแพร่เร็วและมีความรุนแรงและกำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาด เนื่องจากตัวเลขของประเทศที่พบการติดเชื้อ ในช่วง 30 กรกฎาคม จากเดิมสายพันธุ์เดลตากระจายไป 98 ประเทศ เพียง 1 สัปดาห์ จากนั้นพบการติดเชื้อใน 132 ประเทศและพบผู้ป่วย 4 ล้านคน ในบางพื้นที่ และบางพื้นที่ ไม่ถึง 1 เดือน โดยพบว่ามีอัตราการติดเชื้อเพิ่ม ร้อยละ 80 และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และแม้ว่าหลายประเทศ จะมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ เพียงแต่ลดอัตราความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต ขณะนี้การติดเชื้อโควิดในทั่วโลกกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง พบอัตราการติดเชื้อ 5-6 แสนคนต่อวัน และอัตราการเสียชีวิต 7,000 คนต่อวัน และพบว่าในหลายประเทศเริ่มพบอัตราการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น หรือคนอายุน้อยลงมากขึ้น มาจากการปัจจัยทั้งภาวะอ้วน และอื่นๆ แต่อาการไม่ได้รุนแรงมาก

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า เปรียบเทียบการติดเชื้อในต่างประเทศเพื่อเป็นบทเรียนให้กับไทย ว่า ในสหรัฐอเมริกาที่ทุกคนคาดว่ามีการฉีดวัคซีนมากถึง 350 ล้านโดส หรือประมาณ 55.4% แต่ก็ยังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 5 เท่า มีการติดเชื้อเฉลี่ย 10,000-20,000 คนต่อวัน และอัตราการเสียชีวิต 500 คนต่อวัน ทั้งนี้ ทาง CDC ได้ให้คำแนะนำให้มีการเพิ่มการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น รวมกับการสวมหน้ากากอนามัย และมีการจูงใจให้คนร่วมมารับวัคซีนทั้งแจกแฮมเบอร์เกอร์ หรือแจกเงินก็ตาม

ขณะที่สหราชอาณาจักร ประเทศที่มีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก 80 ล้านโดส แต่ก็พบว่ามีอัตราการติดเชื้อต่อวัน 20,000-30,000 คน เป็นผลมาจากสายพันธุ์เดลตา แต่พบอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่หลักสิบเท่านั้น ซึ่งเป็นผลของประสิทธิภาพของวัคซีน แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงจากการกลายพันธุ์ แต่อัตราการเสียชีวิตต่ำมาก แต่เมื่อมีการประกาศวันฟรีดอมเดย์ ไม่ต้องสวมหน้ากาก ทำให้ทั่วโลกต่างจับตาการลดหรือหย่อนมาตรการ อาจเป็นผลให้เกิดปัญหาเชื้อกลายพันธุ์ตามมาภายหลัง และจากเดิมที่ประสิทธิภาพของวัคซีนให้ผล ก็อาจยิ่งลดลง และไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อาจดื้อต่อวัคซีน การสวมหน้ากากอนามัยมีส่วนช่วยลดการกลายพันธุ์

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต่อไปว่า ส่วนในประเทศไทยขณะนี้ พบว่าอัตราการติดเชื้ออยู่ในขาขึ้น พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยหลักหมื่นคนต่อวัน และอัตราการเสียชีวิตหลักร้อยต่อวัน โดยพบว่าการแพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์เดลตาที่มีอำนาจการแพร่กระจายรวดเร็ว และทำให้สัดส่วนของผู้ป่วยอาการหนักมากขึ้น ทำให้ศักยภาพของ รพ.เริ่มไม่ไหว จึงได้หันมาเปลี่ยนระบบการรักษามี Home Isolation หรือ Community Isolation เพื่อช่วยเสริมศักยภาพของ รพ. ซึ่งทำทำควบคู่กับการเร่งฉีดวัคซีน โดยตอนนี้ไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 22% ของประชากร จะเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ 3-4 แสนโดสต่อวัน

พร้อมย้ำสถานการณ์การติดเชื้อของไทยยังไม่ถึงจุดสูงสุด ยังต้องเข้มมาตรการ แต่หากประเมินก็พบว่า ขณะนี้คนไทยส่วนใหญ่การ์ดยังไม่ตก แต่ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ในเดือนสิงหาคม คาดจะสามารถฉีดวัคซีนได้ประมาณ 25% ของประชากร ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจาก 60-70% ผู้เสียชีวิตยังเป็นผู้สูงอายุ จากนั้นให้เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มอื่นๆ เพื่อเพิ่มสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีน และทำให้วัคซีนแสดงประสิทธิภาพ ลดอัตราการเสียชีวิต ซึ่งหากเพิ่มประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนและควบคู่กับมาตรการต่างๆ จะทำให้สถานการณ์การระบาดจะเริ่มดีขึ้นในเดือนกันยายน หรือตุลาคม เนื่องจากวัคซีนเริ่มมาตามเป้า ทำให้มีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น และผลของวัคซีนแสดงประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องความเพียงพอของวัคซีนนั้น คาดว่าช่วงเวลานี้ไปจนถึงปลายปีหน้า ยังมีการแย่งวัคซีนในแต่ละประเทศ ซึ่งวัคซีนไม่เพียงพอ การผลิตวัคซีนยังไม่สามารถทำได้ทันตามความต้องการ ขณะเดียวกันยังอาจถูกซ้ำเติมด้วยการสายพันธุ์ของไวรัสที่กระจายเร็ว ซึ่งวัคซีนรุ่นแรกๆ อาจคุมได้แต่ประสิทธิภาพลดลง และเมื่อต้องการบูสเตอร์ 3 ในขณะที่วัคซีนไม่พอ ก็เป็นประเด็นที่เป็นสาเหตุให้องค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำเข็ม 3 เพราะอยากให้ทั่วโลกได้รับวัคซีนให้เพียงพอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับบริบท ความจำเป็นของของแต่ละประเทศ.