“วิษณุ เครืองาม”ยันไม่สามารถนำกฎอัยการศึก-พ.ร.บ.ความมั่นคงมาใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินได้

728
0
Share:

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีกรณีให้ไปพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กับการใช้กฎหมายปกติ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่า นายกรัฐมนตรี ให้มีการไปเปรียบเทียบว่าหากมีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วจะมีกฎหมายใดมารองรับ และจะทำให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งในความเป็นจริงหากมีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ก็ยังมีในส่วนพ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการ แต่อำนาจการบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัด อาจเกิดความลั่กหลั่นได้ รวมถึงมาตรการการช่วยเหลืออื่นๆ เช่นการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ ก็เกินความสามารถของจังหวัด
.

ดังนั้นจำเป็นที่จะต้อง มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุม พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อให้รัฐบาลเข้าไปดูแลช่วยเหลือ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้กฎอัยการศึกหรือพ.ร.บ.ความมั่นคงมาใช้
.
ส่วนการให้อำนาจผู้ว่าฯ บริหารจัดการ อาจเกิดความลักลั่นได้ เช่น บางจังหวัดอาจตึงแต่บางจังหวัดอาจหย่อนยาน เช่น ภูเก็ต กระบี่ และพังงา ที่เคยเกิดปัญหาก่อนหน้านี้ที่คนมีการโยกย้าย จึงจำเป็นใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาคุมอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลจึงใช้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้คู่ขนานกันมาตลอด
.
หากเลิกประกาศใช้พ.ร.บ.ฉุกเฉินก็จะเหลือ พ.ร.บ.โรคติดต่อเท่านั้น หากคิดว่าเอาสถานการณ์อยู่ก็โอเค ถ้าคิดว่าเอาไม่อยู่ก็ต้องใช้กฎหมายสองชั้นซ้อนกันอยู่ เพียงแต่การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้รัฐมีอำนาจในการประกาศใช้ข้อกำหนดถึง 9 ประการ ซึ่งวันนี้ได้ใช้ครบทั้ง 9 ประการแล้ว แต่บางโอกาสก็อาจใช้เพียง 1-2 ข้อกำหนดก็ได้ เหมือนกับมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อควบคุมการชุมนุม ก็ไม่ได้ประกาศใช้ข้อกำหนดครบทุกประการ นำมาใช้เพียงบางประการเท่านั้น
.
เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดโควิด หรือเมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็อาจไม่ประกาศข้อกำหนดใดๆ เลยก็ได้ แต่เหตุที่ต้องประกาศไว้เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินก็สามารถนำข้อกำหนดมาใช้ได้ทันที แต่หากเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็สามารถทำได้ถ้าคิดว่าสถานการณ์ไว้วางใจได้
.
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ออกประกาศให้เลื่อนการเปิดสนามบินออกไปอีก 1 เดือน ว่า มาตรการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เป็นการมองว่า อาจเป็นความเสี่ยงที่จะนำเชื้อเข้ามาในประเทศ ซึ่งหากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ยังสามารถควบคุมการบินได้ เพราะยังถือเป็นจุดเสี่ยง
.