อังค์ถัดวอนอเมริกาเลิกขึ้นดอกเบี้ย ฉุดเสียหายมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน 2008

237
0
Share:
อังค์ถัด วอน อเมริกา เลิกขึ้น ดอกเบี้ย ฉุดเสียหายมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน 2008

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) หรืออังค์ถัด ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้สหประชาชาติ หรือยูเอ็น เปิดเผยว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วของธนาคารกลางเพื่อต้องการแก้ไขวิกฤตเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงมากนั้น อาจนำไปสู่ความเสียหายทั่วโลกที่มากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2008 หรือเมื่อ 14 ปีผ่านมา และวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2020 หรือเมื่อเกือบ 3 ปีผ่านมา

ที่สำคัญ การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลาง และการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาลในประเทศที่ร่ำรวย เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเห็นโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และภาวะเศรษฐกิจหยุดนิ่งท่ามกลางเงินเฟ้อสูงอย่างยาวนาน หรือ Stagflation

ดังนั้น อังค์ถัดจึงได้ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวเพียง 2.5% ในขณะที่ เศรษฐกิจโลกปี 2566 จะชะลอตัวเหลือ 2.2% ส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพีโลกในปี 2566 จะตกต่ำกว่าตัวเลขจีดีพีในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 และเกิดมูลค่าเศรษฐกิจสะสมเสียหายกว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 646 ล้านล้านบาท ซึ่งเทียบเท่าเกือบ 20% ของรายได้ทั่วโลก

อังค์ถัด เปิดเผยต่อไปว่าแต่ละ 1% ของการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด จะกระทบต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพีประเทศที่ร่ำรวย หรือพัฒนาแล้ว ถึง 0.5% และประเทศกำลังพัฒนา 0.8% ในช่วงระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า สาเหตุจากดอกเบี้ยระยะสั้นที่ทะยานสูงขึ้นทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างมาก ส่งผลให้ประเทศอื่นๆ ตกอยู่ในภาวะนำเข้าสินค้า วัตถุดิบ อาหาร และพลังงานมีราคาแพงอย่างมาก นอกจากนี้ ประเทศที่ยากจนจะเผชิญความยากลำบากอย่างมาก เนื่องจากมีภาระการชำระหนี้ระหว่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ที่สำคัญ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดที่เร่งปรับสูงขึ้นในเฉพาะปีนี้นั้น อาจฉุดรายได้ในอนาคตสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากถึง 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 13.7 ล้านล้านบาท

อังค์ถัด เปิดเผยว่า การใช้นโยบายการเงินตึงตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เปรียบเสมือนการเดิมพันที่ประมาท ที่กระทบต่อชีวิตของมนุษย์ที่มีสินทรัพย์น้อย ถ้าหากธนารกลางไม่ทบทวนนโยบายดังกล่าว กลุ่มประเทศเกิดใหม่อาจเข้าสู่วิกฤตหนี้ ปัญหาสุขภาพ และปัญหาฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

เลขาธิการอังค์ถัด กล่าวว่า ยังมีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นที่บรรดาธนาคารกลางกำลังเดินหน้าต่อไป เช่น นโยบายภาษีลาภลอย