แบงก์ชาติประกาศใช้ 6 มาตรการเข้มคุมธนาคารรัฐ

1014
0
Share:

วันนี้ 13 ธันวาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แบงก์รัฐ) เพื่อยกระดับการดำเนินการของ (แบงก์รัฐ) ให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย และสามารถดำเนินการตามพันธกิจได้อย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ ธปท. เห็นควรออกหลักเกณฑ์กำกับดูแล (แบงก์รัฐ) จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญดังนี้

1.เรื่องหลักเกณฑ์การให้บริการผ่านช่องทางโทรศัพท์และช่องทางดิจิทัลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจปัจจุบันการให้บริการผ่านช่องทางโทรศัพท์และช่องทางดิจิทัล ของแบงก์รัฐมีการพัฒนาและขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ธปท. จึงออกหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมให้ แบงก์รัฐให้บริการดังกล่าวภายใต้ขอบเขตตามกฎหมายจัดตั้ง และที่กระทรวงการคลังกำหนดได้อย่างเหมาะสม โดยมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ มีแนวทางดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม และมีความพร้อมด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย แบงก์รัฐ ต้องขออนุญาตจาก ธปท. หากจะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในครั้งแรกหรือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญ

2. เรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท. มุ่งหวังให้ แบงก์รัฐ ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มีการสร้างและพัฒนากรอบการกำกับดูแลด้านความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้แบงก์รัฐ เป็นองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มี

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้แบงก์รัฐ สามารถป้องกันประสิทธิภาพ และมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการหรือประชาชน

3. แนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท. กำหนดแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งครอบคลุมเรื่องการจัดทำนโยบาย BCM และกระบวนการในการดำเนินการเพื่อรองรับเหตุการณ์หยุดชะงักทางธุรกิจ ตั้งแต่การระบุ และประเมินความเสี่ยง การจัดทำแผน BCP การดำเนินการตามแผน ตลอดจนการติดตามและประเมินผลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการว่า หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้การปฏิบัติงานตามปกติต้องหยุดชะงักเกิดขึ้นธุรกรรมงานที่สำคัญ (Citical Business Functions) ของแบงก์รัฐ จะสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดำเนินการตามปกติภายในเวลาที่เหมาะสม และลดผลกระทบหรือความสูญเสียทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น

4. แนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท. กำหนดแนวทางในการบริหารความเสี่ยงต้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ โดยครอบคลุมเรื่องโครงสร้างและสายการบังคับบัญชา การจัดตั้งฝ่ายงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ 3 ระดับ (3 Lines of Defense) ตลอดจนส่งเสริมให้แบงก์รัฐ มีเครื่องมือและระบบงานที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะปฏิบัติฝาฝืนกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือฐานะทางการเงินของแบงก์รัฐ ได้

5. แนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท. ออกแนวปฏิบัติฉบับนี้ เพื่อให้แบงก์รัฐ ถือปฏิบัติเพิ่มเติมจากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ โดยเพิ่มความซัดเจนเรื่องบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของสายงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานตรวจสอบภายในปฏิบัติงานได้อย่างเป็นอิสระ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ธปท. จึงชอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้บริการผ่านช่องทางโทรศัพท์และช่องทางดิจิทัลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 138 ตอนพิเศษ 287 ง ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 และแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 4 ฉบับ มาพร้อมนี้จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ