ไทยยังลดลง! ประเทศไทยตก 2 อันดับประเทศที่ดีที่สุด-แย่ที่สุดในการรับมือโรคโควิด-19 จาก 54 ประเทศ อินโดนีเชียรั้งท้ายสุด

380
0
Share:

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เปิดเผยรายงานการจัดอันดับประเทศ หรือเขตเศรษฐกิจที่สามารถปรับตัว และมีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 จากทั้งหมด 54 ประเทศ หรือเขตเศรษฐกิจโลก พบว่า ประเทศไทยร่วงหล่นมาอยู่อันดับที่ 41 โดยลดลงอีก 2 อันดับจากเดือนมิถุนายน ที่เคยอยู่อันดับที่ 39 โดยได้คะแนนในภาพรวมที่ 52.6 ส่งผลให้ใน 3 เดือนผ่านมา หรือนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ไทยร่วงลงมา 16 อันดับ อย่างไรก็ตาม หากมองประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า อินโดนีเซียตกต่ำอย่างหนัก โดยลดลงอีก 4 อันดับมาอยู่อันดับที่ 54 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายโดยได้คะแนนรวมเพียง 40.2 มาเลเซียทรุดลงมาอยู่ที่อันดับ 53 เวียดนามร่วลงมากถึง 6 อันดับมาอยู่ที่ อันดับ 46 ด้วยคะแนน 48.7

สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอันดับความสามารถปรับตัว และมีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้น มีเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ดีขึ้น 2 อันดับมาอยู่ที่ 11 ได้คะแนนถึง 71.1 และฟิลิปปินส์ที่อันดับดีขึ้น 3 ขั้นมาอยู่ที่ 49 จาก 54 ประเทศ ด้วยคะแนน 45.5

การจัดอันดับประจำเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่า อันดับ 1 เป็นของประเทศนอร์เวย์ด้วยคะแนน 77.2 อันดับ 2 สวิสเซอร์แลนด์ 75.4 อันดับ 3 นิวซีแลนด์ 75.2 แต่มีอันดับลดลง 1 อันดับจากเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 4 ฝรั่งเศส 75 และอันดับ 5 สหรัฐอเมริกา ได้คะแนน 74 ซึ่งลดลงถึง 4 อันดับเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

หากย้อนกลับไปดูในเดือนพฤษภาคม 2564 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เปิดเผยรายงานการจัดอันดับประเทศ หรือเขตเศรษฐกิจที่สามารถปรับตัว และมีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 จากทั้งหมด 53 ประเทศ หรือเขตเศรษฐกิจโลก พบว่า ประเทศไทยร่วงหล่นมาอยู่อันดับที่ 27 โดยตกต่ำลงถึง 14 อันดับจากเดือนเมษายนที่เคยอยู่อันดับที่ 13 โดยได้คะแนนในภาพรวมที่ 60.3 หากมองในด้านส่วนต่างอันดับปรับลดลงนั้น มาเลเซียตกต่ำหนักที่สุดถึง 15 ขั้น ตามด้วยไทยเป็นที่ 2 คือตกลง 14 ขั้น ส่วนที่ 3 คือ เวียดนามลดลงถึง 12 ขั้น อินโดนีเซียลดลง 8 ขั้น และสิงคโปร์ลดลงเล็กน้อยเพียง 1 ขั้น

ทั้งนี้ การจัดอันดับนับตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ยังพบว่าประเทศไทยมีอันดับตกต่ำอย่างมากถึง 23 อันดับใน 2 เดือนติดต่อกัน สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่ 3 ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดในไทยเป็นต้นมา โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมจาก 28,889 รายในวันที่ 1 เมษายน พุ่งทะยานสะสมเป็น 135,439 รายในวันนี้ 25 พฤษภาคม หรือพุ่งสูงถึง 369% ภายใน 55 วันผ่านมา นอกจากนี้ อัตราการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า