ไม่ไหวแล้ว! นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยจี้รัฐบาลซื้อวัคซีนอื่นแทนซิโนแวค

426
0
Share:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธาน ศบค. เกี่ยวกับการเร่งจัดหาวัคซีนชนิดอื่นๆ ทดแทนยี่ห้อซิโนแวค และวางแผนการหาวัคซีนรุ่นต่อไป ในการป้องกันสายพันธุ์ใหม่ๆ มีดังนี้

1. การคาดการณ์ว่าสายพันธุ์อินเดียจะกลายเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดกว้างขวางที่สุด
2. วัคซีนทุกชนิดที่ใช้อยู่ในโลกขณะนี้ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อินเดียน้อยลง แม้แต่ชนิด mRNA แต่ก็ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะเช่นแอสตร้าเซนเนก้า กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยลง ส่วนซิโนแวคนั้นไม่มีข้อมูล เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาวิจัยที่ทำอย่างเป็นระบบและตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการ
3. ข้อมูลประสิทธิพลของซิโนแวคในประเทศไทย ที่พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการได้รับวัคซีน 2 เข็ม มีระดับเพียงพอ ลดอัตราการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ เป็นข้อมูลที่เก็บในช่วงของการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ จึงยังไม่อาจนำข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน มาใช้ในการพิจารณาจัดซื้อวัคซีนในรุ่นถัดไป
4. ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัคซีนเพื่อควบคุมการระบาด ล้วนแต่ใช้วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะทั้งสิ้น ดังนั้น การเลือกชนิดของวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันโรค จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายการเปิดประเทศภายใน 120 วัน ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ประกาศไปแล้ว

พร้อมกันนี้ ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้เสนอ 5 แนวทาง ดังนี้
1. รัฐบาลควรเร่งรัดและสร้างหลักประกันในการที่จะมีวัคซีนที่ได้วางแผนจัดซื้อไว้แล้ว ให้มีใช้ในปริมาณที่เพียงพอ และถ้าเป็นไปได้ ให้มีวัคซีนเข้ามาเร็วกว่าเดิม
2. เร่งจัดหาวัคซีนชนิดอื่น เช่น วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ มาทดแทนวัคซีนชนิดเชื้อตายของบริษัทซิโนแวค หากสามารถจัดหามาได้ในปริมาณมากตั้งแต่ก่อนสิ้นปีนี้ ยิ่งจะเป็นการดี
3. รัฐบาลควรมีแผนการจัดหาวัคซีนรุ่นต่อไป ที่ผู้ผลิตออกแบบให้สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ รวมทั้งเตรียมการจัดซื้อล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วย
4. รัฐบาลควรส่งเสริมนักวิจัยและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ให้สามารถทำวิจัยได้สำเร็จ และมีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพสูงได้เองภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพิงต่างชาติ ทั้งยังอาจเป็นหนทางสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย