‘ฉลาด อารมณ์ดี มีความสุข’ เมื่อมีดนตรีในหัวใจ

Share:

          วันนี้คุณฟังเพลงหรือยัง? ไม่ได้อ่านผิดแต่อย่างใด เพราะเราจะชวนคุณมาฟังเพลงซึ่งมีประโยชน์มากกว่าความบันเทิงและเพลิดเพลิน อย่างที่รู้มาอย่างแน่นอนค่ะ กับ ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง นักกิจกรรมบำบัด ที่จะมาแนะนำการฟังเพลงให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

ที่มา : pixabay.com

          เริ่มจากเสียงเพลงที่เราฟังกันนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.เมโลดี้ไม่มีคำร้องมีทำนองอย่างเดียว 2.มีคำร้องทำนอง ซึ่งแต่ละช่วงวัยควรเลือกฟังเพลงที่มีความแตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการและเป้าหมายชีวิต ดังนี้

          วัยเด็ก เป็นวัยที่เล่นสนุก กินและนอน ควรฟังเพลงที่มีเสียงคุณแม่ที่คุ้นเคยมีผลต่อฮอร์โมนความสุข เพลงที่มีความสนุกสนาน

          วัยรุ่น เป็นวัยที่ตื่นเต้น ตื่นตัว ควรฟังเพลงที่มีทำนอง มีเครื่องดนตรีต่างๆ ให้เต้นขยับตัวตามได้

          วัยทำงาน เป็นวัยที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ควรฟังเพลงแนวดนตรีคลาสสิก เสียงธรรมชาติ แต่ไม่ถึงกับหลับ เพราะจะได้กระตุ้นความคิด และแรงบันดาลใจในการทำงาน

          วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ต้องการความสงบ ผ่อนคลาย ควรฟังเพลงช้าที่มีเนื้อร้อง เช่น เพลงสุนทราภรณ์ เพราะจะทำให้ผ่อนคลาย ระลึกถึงความทรงจำ ความสุขที่เคยมีในอดีต

ที่มา : pixabay.com

          สำหรับการฟังเพลงเพื่อเพิ่มความฉลาด จะเกิดขึ้นได้ในวัยเด็กและวัยรุ่น การฟังเพลงจะช่วยให้คลื่นสมอง มีความผ่อนคลาย มีความสงบ เมื่อพบกับปัญหาหรือการแก้โจทย์ในการเรียนก็จะทำให้สมองทำงานได้ดี ถ้าหากมีการฟังเพลงภาษาอื่นสมองก็จะได้รับพัฒนาทางทางภาษาไปด้วย

ที่มา : pixabay.com

          นอกจากการฟังเพลงในช่วงเวลาปกติแล้ว เสียงดนตรียังส่งผลต่อการทำงานของคลื่นสมองในช่วงหลับอีกด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้

          ช่วงหลับตื้น สมองจะจัดเก็บความทรงจำ ควรฟังเพลงเพื่อให้เกิดความสุข และคำร้องที่สร้างแรงบันดาลใจก่อนนอน

          ช่วงที่นอนไม่หลับ หยุดฟื้นการนอนหลับเพราะสมองจะจดจำ ควรฟังเพลงที่มีจังหวะให้ขยับร่างกายช้าๆ เช่น การเต้นลีลาศ เพลงร้องคู่

          ช่วงนอนกลางวัน การหลับการวันเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ หลับในช่วงเวลา 13.00 -14.00 น. นอนและตั้งเวลาปลุก ใส่ปากกาหรือเครื่องเขียนไว้ ฟังเพลงภาพยนตร์ เสียงดนตรีไซไฟ เสียงการผจญภัย จะทำ ให้หลับแล้วกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

          เป็นอย่างไรกันบ้างคะประโยชน์ของ ดนตรีและเสียงเพลง มีมากมายทั้งการช่วยให้ผ่อนคลาย มีความสุข พัฒนาสมอง สร้างความคิดสร้างสรรค์ ขอเพียงเราเลือกฟังให้เหมาะสมกับช่วงวัยและช่วงเวลาตามที่อาจารย์แนะนำกันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปสร้าง Playlist เพลงโปรดกันไว้เลยค่ะ

 

 

สามารถติดตามรับชมเรื่องราวสุขภาพได้ที่ Young @Heart Show

ตอน ยิ่งฟังเพลง ยิ่งฉลาด

Young@Heart Show