มากกว่าหมดไฟ คือ มีไฟแต่หมดใจในการทำงาน กับภาวะ Brownout Syndrome

Share:

     ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินปัญหาของคนวัยทำงานที่เรียกว่าBurnout Syndrome คือภาวะหมดไฟ เหนื่อยล้าในการทำงาน แต่ตอนนี้ยังมีอีกปัญหาที่หนักกว่าเกิดขึ้นของคนวัยทำงานที่เรียกว่าBrownout Syndromeสาเหตุนี้เกิดจากอะไร  Young@Heart Show จะพามาให้คำตอบกันค่ะ

ที่มา : www.pixabay.com

     จากที่เราเคยได้ยินกระแสของภาวะBurnout Syndromeที่เป็นเพียงแค่การเหนื่อยทางกายที่มาจากความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการถูกกดดันมาเป็นระยะเวลานานในสถานที่ทำงานด้วยรูปแบบของความคาดหวังที่สูงเกิดกว่าตัวเองจะรับไหวจึงทำให้หมดไฟในการทำงานและเป็นสาเหตุที่คนวัยทำงานพบเจอกันเป็นอย่างมากแต่วันนี้เรามีศัพท์ใหม่ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินที่เป็นภัยเงียบที่มาจากองค์ที่เราทำงานส่งผลกับมนุษย์ออฟฟิศกับภาวะBrownout Syndrome

ที่มา : www.pixabay.com

     ซึ่งภาวะBrownout Syndromeคือภาวะที่เกิดขึ้นจากความเบื่อหน่ายอะไรบางอย่างในองค์กรอาทิ กฎระเบียบที่มากมายจุกจิก เงื่อนไขบางอย่างที่ตั้งเอาไว้จนทำให้อึดอัดและความวุ่นวายจากสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือเพื่อนร่วมงานบางประเภทจนทำให้รู้สึกหัวเสียทำงานได้อย่างไม่เต็มที่และอีกหลายเหตุผลจนทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่าองค์กรนี้ไม่เหมาะกับพวกเขาอีกแล้ว แต่ก็ยังมีบางเหตุผลที่ยังต้องทนจนถึงวันที่ฟางเส้นสุดท้ายขาดและการลาออกคือทางเลือกที่ดีที่สุดแม้จะยังไม่หมดไฟในการทำงานก็ตามแต่ก็ทำให้หมดใจที่จะไปต่อ

ที่มา : www.pixabay.com

     และจากผลการสำรวจของ Harvard Business Review พบว่าอัตราส่วนที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานชาวอเมริกันถึง40%มาจากภาวะ“Brownout”ซึ่งหากเทียบสภาวะ“Burnout”ที่เป็นอาการหมดไฟชั่วคราวนั้น มีเพียง 5% เท่านั้น และ ภาวะ Brownout Syndrome ยังได้รับการรับรองจาก WHO ว่าเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และอาการนี้ส่งผลให้มีพนักงานลาออกจากงานมากถึง 40% (ข้อมูลจาก Corporate Balance Concepts)

ที่มา : www.pixabay.com

     เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเรามาเช็กสัญญาณเตือนกันว่าเราเข้าข่ายภาวะ Brownout Syndrome หรือไม่

  1. ความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง
  2. ไม่อยากทำงานนอกเหนือเวลางาน เช่น ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานเสาร์ อาทิตย์จากที่เมื่อก่อนเคยทำได้
  3. มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอป่วยบ่อยๆซึมลงใส่ใจตัวเองน้อยลง
  4. ไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่างๆขององค์กร
  5. ปลีกตัวจากสังคมเพื่อนร่วมงาน
  6. ขาดความสนใจในเรื่องทั่วไปยกเว้นเรื่องงาน
  7. รู้สึกกดดันจากการทำงานเหมือนองค์กรคอยเพ่งเล็งจับผิด

ที่มา : www.pixabay.com

     เมื่อลองเช็กสัญญาณกันแล้วพบว่าตัวเองเข้าข่ายภาวะ Brownout Syndrome การแก้ไขภาวะนี้ในฐานะที่เราเป็นพนักงานบริษัทอาจจะต้องหาวัน เวลาเพื่อทำการพักผ่อน หรือลาพักร้อน เพื่อรีเซ็ตตัวเองและความรู้สึกกันใหม่เพื่อหาเป้าหมายและเริ่มต้นความรู้สึกที่ดีในการกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่งและในฐานะของผู้บริหารองค์กรอาจจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กรให้มีความยืดหยุ่น หรือมีความเท่าเทียมมากขึ้นในองค์กร เช่น กฎระเบียบ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เป้าหมายองค์กร การมีสิ่งตอบแทนหรือการสร้างแรงบันดาลในการทำงานให้กับพนักงานในองค์กรมีความกระตือรือร้นและมีใจกลับมาอยากทำงานอีกครั้ง

ที่มา  Corporate Balance Concepts ,SME THAILAND CLUB,JobsDB,LINE TODAY สุขภาพ

Young@Heart Show