YOUNG@HEART SHOW : รู้ทันโรค “ไลม์” (Lyme) ภัยจากสัตว์เลี้ยง

Share:
Lyme, โรคไลม์

          หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “โรคไลม์ (Lyme)” กันมาบ้างแล้ว จากข่าวพบผู้ติดเชื้อหลังกลับมาจากประเทศตุรกี เนื่องจากโรคนี้ถูกพบครั้งแรกในไทย ทำให้ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะไลม์ไม่ใช่โรคพื้นถิ่นในไทย คนที่ควรระวังก็จะเป็นคนที่ทำงานต่างประเทศ และคนที่ไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ ใครกำลังจะไปต่างประเทศมารู้ทันโรคนี้กัน จะได้ระวังตัวนะคะ

 

โรคไลม์ (Lyme)

          เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการโดนเห็บชนิด Blacklegged หรือ Deer tick กัด เริ่มแรกเชื้อนี้มาสัตว์เลื้อยคลาน ไปสู่นก และไปสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พอเห็บมากัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็รับเชื้อนี้ไป และเห็บก็แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว

 

Lyme, โรคไลม์

ภาพจาก Pexels

 

          เห็บชนิดนี้อาศัยอยู่ตามพื้นหญ้าเวลาคนหรือสัตว์เดินผ่าน มันก็จะเกาะและดูดเลือด เห็บมักซ่อนตัวอยู่ตามหลีบที่มองไม่เห็น เช่น รักแร้ ขาหนีบ และหนังศีรษะ เมื่อมันกัดคน คนก็จะได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ และป่วยในที่สุด

 

Lyme, โรคไลม์

ภาพจาก Pexels

 

อาการของโรคไลม์

          บริเวณที่ถูกเห็บกัดจะมีลักษณะเป็นวงสีแดง แผลเรียบไม่นูน และขนายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มปวดข้อ มีอาการทางประสาท อาจเป็นอัมพาต หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ รวมถึงมีภาวะใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจตื้น ถ้าไม่รีบรักษาจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น เคลื่อนไหวผิดปกติ มีปัญหาด้านการรับรู้ การจดจำ การพูด และอารมณ์แปรปรวน ถ้ายังไม่รีบรักษาอีกหัวใจและปอดก็จะมีการทำงานที่ผิดปกติ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

 

Lyme, โรคไลม์

ภาพจาก www.pharmacy.mahidol.ac.th

 

วิธีป้องกันโรคไลม์

1. หลีกเลี่ยงการเดินบนหญ้า

2. สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และถุงเท้า เมื่อไปเที่ยวป่า หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

3. พ่นสเปรย์กันเห็บ บริเวณผิวหนังและเสื้อผ้า และเมื่อไปเที่ยวกางเต้นท์ในป่าก็ควรฉีดรอบเต้นท์ด้วยค่ะ

4. ทำความสะอาดที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง และรักษาความสะอาดตัวสัตว์อย่าให้มีเห็บ

5. ถ้าโดนเห็บกัดให้รีบดึงเห็บออก แล้วทำความสะอาดบริเวณแผลด้วย น้ำสะอาด น้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผลค่ะ

6. เมื่อมีอาการจุดวงสีแดง ให้รีบพบแพทย์ทันที

 

Lyme, โรคไลม์

ภาพจาก Pexels

 

          ใครที่อยู่ต่างประเทศ ต้องใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและป่า ควรดูแลตัวเองอย่าให้เห็บกัด และไม่เล่นกับสัตว์แปลกหน้านะคะ โรคนี้อาจมีความรุนแรงถึงชีวิตได้ ต้องหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีจุดแดงๆที่ตัวรึเปล่า ถ้ามีอาการต้องรีบไปหาหมอ ไม่อย่างนั้นจะยิ่งเป็นหนักเลยค่ะ 

 

ข้อมูจาก: www.honestdocs.co | www.pharmacy.mahidol.ac.th

Young@Heart Show