สภาพัฒน์เผยเศรษฐกิจไทยทั้งปี 66 โตเแค่ 1.9% ชะลอตัวต่อจากปี 65 โต 2.5%

สภาพัฒน์ เผย เศรษฐกิจไทย ทั้งปี 66 โตเแค่ 1.9% ชะลอตัวต่อจากปี 65 โต 2.5%

วันนี้ (19 ก.พ.) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าว “รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567” สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2566 หรือ 2024 เติบโตที่ 1.9% ซึ่งขยายตัวลดต่ำลงจากปี 2565 ที่ขยายตัวระดับ 2.5% ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 1 ปีผ่านมา หรือนับตั้งแต่ปี 2565 นอกจากนี้ จีดีพีไทยในปี 2566 ดังกล่าวยังลดต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึงระดับ 2.4% อีกด้วย

สำหรับภาวะเศรษฐกิจของ 6 ประเทศชั้นนำในกลุ่มอาเซียนประจำปี 2566 พบว่า อันดับ 1 ฟิลิปปินส์โต 5.6% อันดับ 2 อินโดนีเซียโต 5.05% อันดับ 3 เวียดนามโต 5.05% อันดับ 4 มาเลเซียโต 3.7% อันดับ 5 ไทยโต 1.9% และอันดับ 6 สิงคโปร์โต 1.2% ส่งผลให้ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวที่ 1.9% เติบโตต่ำรั้งรองสุดท้ายในอาเซียน และเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจีดีพีที่ 3.75% การเติบโตทางเศรษฐกิจของ 6 ประเทศชั้นนำในอาเซียนในปีผ่านไปด้วย

ขณะที่ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ขยำยตัวร้อยละ 1.7 เร่งขึ้นจำกกำรขยำยตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมำสที่สำมของปี 2566 (เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ ของปี 2566 ลดลงจากไตรมาสที่3 ของปี 2566 ร้อยละ 0.6 รวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.4%การอุปโภคกาครัฐหดตัว 3% การลงทุนรวมหดตัว 0.4% และการส่งออกขยายตัวได้ 3.4% ขณะที่การส่งออกภาคบริการขยายตัว 14.7%

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.2-3.2 (ค่ากลางการประมาณการที่ร้อยละ 2.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก
(1) การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของ
การค้าโลก
(2) การขยายตัวในกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน
และ (3) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ3.0 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9-1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.4 ของ GDP

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles