ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ.67 ปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 7 พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 48 เดือน

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ .หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนมกราคม 2567 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 48 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นหลังจากรัฐบาลจัดทำนโยบายลดค่าครองชีพโดยลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมัน ยกเว้นการยื่นวีซ่านักท่องเที่ยว การส่งออกในเดือนมกราคม ปี 2567 เพิ่มขึ้น ตลอดจนมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบ อาทิ ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า รายได้ผู้บริโภคไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น  กังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลก

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 57.7 60.4 และ 73.2 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนมกราคม ที่อยู่ในระดับ 56.9 59.5 และ 72.2 ตามลำดับ แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นมากขึ้นเป็นลำดับว่า เศรษฐกิจไทยสามารถกลับมาฟื้นตัวได้หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติสะท้อนว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง  ซึ่งการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภคที่ปรับตัวจากระดับ 62.9 เป็น 63.8 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 48 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา

เช่นเดียวกับการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าค่าครองชีพสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลกตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนกับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาอาจยืดเยื้อส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อผู้บริโภค

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากระดับ 46.2 เป็น 46.9 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เช่นเดียวกัน โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 70.9 มาอยู่ที่ระดับ 71.9 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ แสดงว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มกลับมาปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ภายใต้นโยบายที่ได้ประกาศไว้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles