นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยกล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ควรเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีเศรษฐกิจต่างกัน มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะเป็นประเทศเล็กๆและการรับค่าจ้างในอัตราเดียวกันทั่วประเทศเป็น 400 บาทต่อวัน จะทำให้มีบางจังหวัดค่าจ้างจะขึ้นแบบกระชาก เช่น สามจังหวัดชายแดนใต้ที่วันนี้ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 330 บาทก็จะกระชับขึ้นมากกว่า 20% ผู้ประกอบการก็จะอยู่ไม่ได้ตายเจ๊งแน่นอน
อีกปัจจัยที่ต้องคิดหากค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ การลงทุนจะกระจุกตัวในเมืองไม่กระจายไปต่างจังหวัดต่างจังหวัด เพราะผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าขนส่งที่สูงกว่าการลงทุนในเมือง และยังเสี่ยงต่อการย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 70% เช่นอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สิ่งทอเพราะจะแข่งขัน ลำบาก ซึ่งวันนี้ปัญหาสินค้าจีนถูกทะลักเข้ามาตีตลาดก็ยังแก้ไม่ตก ทำให้ผู้ผลิตไทยอยู่ยากขึ้น
ซึ่งการขึ้นค่าแรงอาจมองได้ว่าส่งผลดีต่อกำลังซื้อในระยะสั้นก็จริง แต่ระยะยาวจะทำให้สินค้าแพงขึ้นประชาชนจะซื้อไม่ไหว และปัญหาก็จะวนรุปกลับมาสู่วงจรการรับค่าแรงอีกเป็นวงเวียนไม่สิ้นสุด
โดย นายธนิต ย้ำว่าค่าจ้างขั้นต่ำควรปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อความเหมาะสมของแต่ละจังหวัดและต้องไม่ปรับขึ้นแบบกระชากที่สำคัญรัฐบาลต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานคณะกรรมการขจ้างหรือไรภาคีซึ่งจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่บอกว่าค่าจ้าง 400 บาทเอสเอ็มอีไปต่อไม่ไหวอาจถึงขั้นหยุดหรือปิดกิจการ เพราะค่าจ้างที่ปรับขึ้นยังส่งผลต่อต้นทุนอื่นด้วยเช่นต้องจ่ายสมทบประกันสังคมมากขึ้น เป็นต้น
แต่หากรัฐบาลยืนยันต้องปรับขึ้นก็แนะนำให้ทยอยปรับแบบขั้นบันไดจนครบ 400 บาท เพราะมีมาตรการชดเชยหรือเยียวยาผู้ประกอบการ เช่นลดค่าน้ำ ค่าไฟ ภาษีนิติบุคคล และจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปต่อได้ ที่สำคัญรัฐต้องควบคุมค่าจ้างแรงงานในระบบกลับนอกระบบหรือแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีทักษะและเสียภาษีให้ประเทศด้วย