นิกเคอิ เอเชีย สำนักข่าวชื่อดังระดับโลกในประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลตลาดรถยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม พบว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 มาเป็นเวลานานในอาเซียนนั้น นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ในปี 2023 มาถึงในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 นี้ มาเลเซียมียอดขายรถยนต์ในประเทศพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 ไตรมาส และทำยอดขายแซงยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย เป็นผลสำเร็จส่งผลให้ตลาดรถยนต์ประเทศมาเลเซียแซงตลาดรถยนต์ประเทศไทยขึ้นมาอยู่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนอย่างเป็นทางการ
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งประเทศมาเลเซียเปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ทั้งประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 นี้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2023 โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 202,245 คัน ในขณะที่ตลอดทั้งปี 2023 ผ่านไปตลาดรถยนต์มาเลเซียทำยอดขายได้สูงถึง 799,731 คัน ทำสถิติยอดขาย รถยนต์ในประเทศสูงสุดมากเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซีย
สาเหตุที่ทำให้ตลาดรถยนต์มาเลเซียมีขนาดใหญ่โตขึ้นเป็นอันดับ 2 ในตลาดอาเซียน แซงประเทศไทยนั้น เนื่องจาก รัฐบาลมาเลเซียมีมาตรการยกเว้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของราคารถยนต์ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ยี่ห้อใดก็ตามที่ผลิตภายในประเทศมาเลเซีย นโยบายและมาตรการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมาเลเซียของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทำให้รถยนต์แห่งชาติสองยี่ห้อดังของประเทศมาเลเซียได้แก่ยี่ห้อโปรตอน และเพอร์โรดัว ซึ่งแต่ละแบรนด์มีส่วนแบ่งตลาดค่ายละ 60% ภายในประเทศมาเลเซียได้รับประโยชน์สูงสุดจากมาตรการยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว การยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศมาเลเซียนั้นใช้ครอบคลุมทั้งรถยนต์เครื่องสันดาปและรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถอีวีที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น
สำหรับยอดขายรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 นี้ ของทั้ง 5 ประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า อันดับ 1 อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ในอาเซียนนั้น มียอดขายราว 220,00 คัน อันดับ 2 มาเลเซียซึ่งกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ในอาเซียนไปแล้วนั้น มียอดขายกว่า 202,000 คัน อันดับ 3 ประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ตกลงมาเป็นอันดับ 3 ของอาเซียนไปแล้วนั้น มียอดขายกว่า 163,756 คัน อันดับ 4 ฟิลิปปินส์ มียอดขายกว่า 110,000 คัน และอันดับที่ห้าสุดท้ายเวียดนามมียอดราว 50,000 คัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบในแง่สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงยอดขายรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของทั้ง 5 ประเทศดังกล่าว พบว่า 3 ประเทศที่มียอดขายรถยนต์ในประเทศตกต่ำลงมากที่สุดในอาเซียน ได้แก่ อันดับ 1 ตลาดรถยนต์ประเทศ ไทยมียอดขายดำดิ่งลงมากถึง -25% อันดับที่ 2 อินโดนีเซียมียอดขายตกต่ำมากถึง -24% และอันดับสุดท้าย ได้แก่ตลาดรถยนต์ในประเทศเวียดนามมียอดขายทรุดต่ำลง -16% ในทางตรงกันข้ามมีเพียง 2 ประเทศที่มียอดขายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดรถยนต์ฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 13% และประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้น 5%
สำหรับตลาดรถยนต์ของประเทศไทย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนมาเป็นระยะเวลานานจนได้ชื่อว่า ดีทรอยต์แห่งเอเชีย นั้น ต้องเผชิญกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ตกต่ำอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงกว่า 90% เมื่อเทียบกับจีดีพีตลอดจนภาวะหนี้หนี้กู้ยืมซื้อรถยนต์กลายเป็นหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในอันดับต้นต้นของประเภทหนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ สถาบันการเงินซึ่งหมายถึงธนาคารพาณิชย์ได้ปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อรถยนต์ให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงในการผ่อนชำระรถยนต์ซึ่งซึ่งอัตราการปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวสูงถึงระดับ 30% ในช่วงนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวส่งผลให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้ามีผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคคนไทย
สอดคล้องกับประเทศเวียดนามเผชิญกับภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงรวมถึงปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฉุดรั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคชาวเวียดนามในการซื้อขายรถยนต์ ในขณะเดียวกันยอดขายรถยนต์ภายในประเทศอินโดนีเซียที่ตกต่ำมากเป็นอันดับสองในอาเซียนในช่วงไตรมาสที่หนึ่งหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องกลายเป็นต้นทุนทางการเงินของผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย
ในขณะที่ตลาดรถยนต์ประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ที่สูงสุดในประเทศอาเซียน เนื่องจากผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์มีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ภาวะเงินเฟ้อในประเทศฟิลิปปินส์ผ่อนคลายลงเป็นอย่างมากและการขยายตัวของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่หนึ่งนั้นมีสูงถึง 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา