ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ 10 จังหวัดในประเทศไทยที่มีเงินฝาก เงินกู้ และสถาบัน องค์กร หรือบุคคลประเภทใดที่กู้ยืมเงินมากที่สุด มีดังนี้
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีเงินฝากสูงสุด มีดังนี้
1. กรุงเทพมหานคร จำนวน 10,452,078 ล้านบาท
2. นนทบุรี จำนวน 624,391 ล้านบาท
3. สมุทรปราการ จำนวน 560,399 ล้านบาท
4. ชลบุรี จำนวน 554,478 ล้านบาท
5. ปทุมธานี จำนวน 334,499 ล้านบาท
6. เชียงใหม่ จำนวน 297,453 ล้านบาท
7. นครปฐม จำนวน 226,360 ล้านบาท
8. สมุทรสาคร จำนวน 198,283 ล้านบาท
9. สงขลา จำนวน 192,693 ล้านบาท
10. ระยอง จำนวน 192,353 ล้านบาท
สำหรับจังหวัดในประเทศไทยที่มีเงินกู้สูงสุด 10 อันดับแรก มีดังนี้
1. กรุงเทพมหานคร จำนวน 13,320,551 ล้านบาท
2. ชลบุรี จำนวน 460,413 ล้านบาท
3. สมุทรปราการ จำนวน 319,265 ล้านบาท
4. นนทบุรี จำนวน 272,312 ล้านบาท
5. เชียงใหม่ จำนวน 215,658 ล้านบาท
6. ปทุมธานี จำนวน 202,315 ล้านบาท
7. ภูเก็ต จำนวน 187,146 ล้านบาท
8. นครราชสีมา จำนวน 180,339 ล้านบาท
9. ระยอง จำนวน 170,793 ล้านบาท
10. ขอนแก่น จำนวน 156,268 ล้านบาท
สำหรับประเภทบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีสินเชื่อคงค้างในธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีจำนวน 18,277,416 ล้านบาท ข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 มีดังนี้
1. ธุรกิจ จำนวน 6,876,421 ล้านบาท
2. บุคคลธรรมดา จำนวน 6,371,655 ล้านบาท
3. สถาบันการเงินในประเทศ จำนวน 3,367,425 ล้านบาท
4. บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ จำนวน 981,732 ล้านบาท
5. รัฐบาล จำนวน 472,641 ล้านบาท
6. กองทุนต่างๆ จำนวน 89,861 ล้านบาท
7. รัฐวิสาหกิจและองค์การของรัฐ จำนวน 75,404 ล้านบาท
8. สถาบันการเงินในต่างประเทศ จำนวน 41,159 ล้านบาท
9. สถาบันที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร จำนวน 1,120 ล้านบาท