ธนาคารโลก รายงานว่า เศรษฐกิจนอกระบบของไทยอยู่ที่ 46.5% เมื่อเทียบกับ GDP ในประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30 ล้านล้านบาท อยู่ในอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย โดยเศรษฐกิจนอกระบบ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ ที่ไม่ได้ถูกเก็บภาษีหรือตรวจสอบโดยหน่วยงานรัฐ และไม่ได้ถูกคำนวณเป็น GDP ของประเทศ
ดังนั้นมูลค่า 30 ล้านล้านบาทของเศรษฐกิจนอกระบบ จึงไม่ถูกคิดรวมอยู่ใน GDP ทำให้ไม่สามารถสะท้อนขนาดที่แท้จริงของเศรษฐกิจในประเทศได้ ซึ่งเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 นั้น GDP ขยายตัวเพียง 2.3% รั้งท้ายในกลุ่มอาเซียน
และเมื่อเศรษฐกิจนอกระบบมีสัดส่วนมาก หมายถึงมีแรงงานนอกระบบมากตามไปด้วย ซึ่งแรงงานนอกระบบก็อย่างเช่น เกษตรกร หาบเร่แผงลอย ผู้ทำกิจการเล็กๆ ผู้ผลิตงานเองขายเอง รับจ้างทำงานที่บ้าน มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ลูกจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรืออาชีพผิดกฎหมาย
ในปี 2566 ไทยมีจำนวนแรงงานนอกระบบ สูงถึง 21 ล้านคน มากกว่าแรงงานในระบบที่มี 19 ล้านคน ทำให้อาจตามมาด้วยปัญหาแรงงานต่างๆ ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองด้วย