พาณิชย์ ชี้ตลาดข้าวของไทยยังคงมีทิศทางดี คาดส่งออกได้เกินเป้า ส่วนน้ำท่วมกระทบแหล่งเพาะปลูกบางแห่ง

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวง พาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรสัปดาห์นี้ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน และพืชเกษตรหลักส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนตลาดข้าวไทย จากข้อมูลการส่งออกข้าวจากกรมการค้าต่างประเทศ เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 ส่งออก 5.68 ล้านตัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 4.66 ล้านตัน (+21%) และคาดว่าในปีนี้การส่งออกข้าวไทยจะส่งออกมากกว่า 8 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีก่อน จึงเชื่อว่าตลาดข้าวของไทยยังคงมีทิศทางที่ดี โดยราคาข้าวหอมมะลิราคา 16,450 บาทต่อตัน ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ราคา 16,150 บาทต่อตัน ข้าวหอมปทุมธานี 15,550 บาทต่อตัน ข้าวเจ้า 11,050 บาทต่อตัน ข้าวเหนียวเมล็ดยาว 13,500 บาทต่อตัน ซึ่งสมาคมโรงสียืนยันทุกโรงสียังคงแข่งขันและรับซื้ออย่างต่อเนื่อง สำหรับราคามันสำปะหลัง ราคา 2.90 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้น 14.5%) ราคา 10.68 บาทต่อกก. ปาล์มน้ำมันราคา 6.60 บาทต่อกก. ซึ่งราคาสินค้าหลักทุกสินค้ายังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในจะติดตามสถานการณ์การรับซื้อสินค้าพืชหลักทุกสินค้าโดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม และหากจำเป็นจะได้ประสานผู้ประกอบการเข้าไปเปิดจุดรับซื้อในพื้นที่ต่อไป

สำหรับกลุ่มเนื้อสัตว์ ราคาทรงตัว อาทิ หมูเนื้อแดง เฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 136.38 บาท ไก่เนื้อน่องติดสะโพก เฉลี่ยกก.ละ 82.50 บาท เนื้อน่อง เฉลี่ยกก.ละ 83.81 บาท เนื้อสะโพกเฉลี่ย กก.ละ 85.69 บาท และเนื้ออกเฉลี่ยกก.ละ 84.75 บาท ส่วนไข่ไก่เบอร์ 3 เฉลี่ยฟองละ 4.23 บาท ใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา และสัตว์น้ำ ราคาทรงตัว โดยปลานิล กก.ละ 73.50 บาท ปลาทับทิม 106 บาท ปลาดุก 76.30 บาท กุ้งขาว (70 ตัว/กก.) กก.ละ 186 บาท 

ราคาผัก สถานการณ์ฝนตกทำให้ผักในแหล่งผลิตบางพื้นที่ได้รับความเสียหายเล็กน้อย ส่งผลให้ผักบางชนิดอาจจะมีปริมาณลดลงในช่วงสั้นๆ ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์พบว่า ปริมาณยังคงมีเพียงพอและราคาจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ในภาพรวมผักหลายชนิดปรับราคาลดลง ได้แก่ ผักคะน้า กก.ละ 37.80 ถั่วฝักยาว กก.ละ 41 บาท กะหล่ำปลี กก.ละ 32.80 บาท กวางตุ้ง กก.ละ 29.80 บาท ผักบุ้งจีน กก.ละ 32.80 บาท มะนาว (เบอร์ 1-2) อยู่ที่ 3.65 บาท ส่วนผักที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ ผักกาดขาว กก.ละ 39 บาท ต้นหอม กก.ละ 124.50 บาท ผักชี กก.ละ 129 บาท 

พริกขี้หนูจินดา 80.20 บาท ทั้งนี้ กรมการค้าภายในจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในกรณีที่จำเป็นจะเปิดจุดในพื้นที่น้ำท่วมหากปริมาณไม่เพียงพอ รวมถึงจัดกิจกรรมเชื่อมโยงผักเข้าห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่และห้างท้องถิ่น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วในพื้นที่ 10 จังหวัด  

ทางด้านผลไม้ ราคาตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยผลไม้ภาคตะวันออก ทุเรียน มังคุด เงาะโรงเรียน และลองกอง ออกสู่ตลาดหมดแล้ว ผลไม้ภาคใต้ ที่กำลังออกสู่ตลาด โดยทุเรียน ออกแล้ว 87% ราคาเกรดส่งออกหรือเกรด AB กก.ละ 140 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 120 บาท 

เกรดส่งออกรองหรือเกรด C กก.ละ 105 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 105 บาท และเกรด D 

กก.ละ 97.50 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 96 บาท มังคุดใต้ ออกแล้ว 81% โดยเกรดส่งออก กก.ละ 54.80 บาท จากราคาปี 65 ที่เฉลี่ย กก.ละ 37 บาท เกรดรอง กก.ละ 38.75 บาท จากราคา

ปี 65 ที่เฉลี่ย กก.ละ 30 บาท เกรดคละ กก.ละ 42.50 บาท จากราคาปี 65 ที่เฉลี่ย กก.ละ 25 บาท เกรดตกเกรด กก.ละ 25.03 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 12 บาท เงาะออกแล้ว 89% 

โดยเงาะโรงเรียนเกรดในประเทศ กก.ละ 30 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 29 บาท เงาะสีทองเกรดในประเทศ กก.ละ 25 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 24 บาท ส่วนลองกองออกแล้ว 26% ลองกองเบอร์ 1 กก.ละ 47.50 บาท เบอร์ 2 กก.ละ 30 บาท และ เบอร์ 3 กก.ละ 20 บาท ซึ่งถือว่าราคาเฉลี่ยดีกว่าปีก่อนหน้า 

ขณะที่ผลไม้ภาคเหนือกำลังออกสู่ตลาด โดยสับปะรดภูแลออกแล้ว 87% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 12.50 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 8.98 บาท ส้มโอทองดี ออกแล้ว 69% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 15.50 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 13.75 บาท ลำไย ออกแล้ว 98% ลำไยเกรดช่อส่งออกAA กก.ละ 42.50 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 32.50 บาท เกรดช่อส่งออกA กก.ละ 38 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 27.50 บาท เกรดรูดร่วง AA กก.ละ 33.50 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 23.50 บาท เกรดรูดร่วง A กก.ละ 18.50 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 15.50 บาท และเกรดรูดร่วง B กก.ละ 12.50 บาท จากปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 7.50 บาท ส่วนลองกองเริ่มออกบ้างแล้วเล็กน้อย ลองกองเบอร์ 1 กก.ละ 42.50 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 38.50 บาท และ เบอร์ 3 กก.ละ 22.50 บาท จากราคาปี 66 ที่เฉลี่ย กก.ละ 17.50 บาท

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles