ฟิทช์ เรตติ้ง มองแบงก์ชาติสหรัฐไม่รีบหั่นดอกเบี้ย ชี้ลดรวม 2.5% ในการประชุม 10 ครั้งภายใน 2 ปีถึง 2026

ฟิทช์ เรตติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเรตติ้งในการลงทุน ชื่อดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผย ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะไม่เร่งรีบผ่อนคลายนโยบายการเงิน หรือจะไม่รีบลดดอกเบี้ยระยะสั้นตามที่มีการประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่าตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุม 2 วันติดกัน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 ถึง 18 กันยายนนี้

ในรายงานเกี่ยวกับมุมมองภาวะเศรษฐกิจโลกประจำเดือนกันยายนของฟิทช์ เรตติ้ง พบว่า ได้คาดการณ์ ว่าเสร็จจะลดดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ในการประชุมเดือนกันยายนและเดือนเดือนธันวาคม 2024 นี้ จากนั้นในปี 2025 คาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลงรวมกันทั้งสิ้น 1.25% จนกระทั่งทั้งปี 2026 อัตราดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้น 0.75%

ดังนั้นภายในระยะเวลาสองปีจากนี้ไป ฟิทช์ เรตติ้ง ได้ประเมินว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นรวมกันทั้งหมด 10 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 2.5% โดยจะกระจายอยู่ในการประชุม 10 รอบ ในช่วงระยะเวลา 25 เดือนนับตั้งแต่กันยายนนี้เป็นต้นไป เหตุผลที่สนับสนุนการคาดการณ์เช่นนี้ เนื่องจากมั่นใจว่า เฟดยังคงมีเป้าหมายสำคัญอื่นๆ ที่จะต้องบริหารจัดการจัดการภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ เนื่องจากถึงแม้ว่าเงินเฟ้อในสหรัฐจะมีแนวโน้มลดต่ำลงก็ตาม แต่หากสังเกตให้ดี จะพบว่า แนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลงดังกล่าวยังคงไม่มีเสถียรภาพ หรือความต่อเนื่องอย่างชัดเจน เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน ของสหรัฐฯในเดือนสิงหาคม พบว่า แม้จะลดลงแต่นั่นก็เป็นเพราะ ราคาขายรถยนต์มีราคาปรับลดลง ซึ่งเป็นเพียงช่วงฤดูกาลเท่านั้น ไม่ได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

ฟิทช์ เรตติ้ง เปิดเผยสถิติของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟด ในอดีตที่ผ่านมา ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ย ของจำนวนครั้งในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจากระดับของดอกเบี้ยสูงสุดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุด ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1950 พบว่าประพจน์อัตราดอกเบี้ยระยะระยะสั้นลงรวมกันเป็น 4.70% โดยมีค่าเฉลี่ยโดยระยะเวลาในการลดดอกเบี้ยช่วงเวลาดังกล่าวถึง 8 เดือน

สำหรับในเอเชียนั้น ฟิทช์ เรตติ้ง คาดการณ์ว่าธนาคารกลางจีนจะปรับอัตราดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารกลางสหรัฐ ในขณะเดียวกันมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคต เนื่องจากตัวเลขเป็นเฟ้อขั้นพื้นฐานในประเทศญี่ปุ่นอยู่สูงกว่าเป้าหมายมาถึง 23 เดือนติดต่อกัน นอกจากนี้บรรดาธุรกิจภาคเอกชนล้วนส่งสัญญาณที่จะมีการปรับขึ้นผลตอบแทนให้กับพนักงาน สถานการณ์เศรษฐกิจดังกล่าวในปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่นนั้น มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบในยุคทศวรรษ 1990 ที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะทศวรรษที่สูญหายหรือ The Lost Decade อัตราผลตอบแทน หรือรายได้ของพนักงานไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ ท่ามกลางเกิดภาวะเงินฝืดเรื้อรัง

ทั้งนี้ ฟิทช์ เรตติ้ง คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไปแตะที่ระดับ 0.5% ภายในสิ้นปี 2024 นี้ และในปี 2025 นั้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.25% ส่งผลให้ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 0.75% จนกระทั่งถึงในสิ้นปี 2026 กับการญี่ปุ่นฉบับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแตะที่ระดับ 1%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles