วันตัดสินลดดอกเบี้ยสหรัฐ ทำไมถึงสำคัญกับ 5 สิ่งของเศรษฐกิจโลก แรงกระแทกส่งครบตั้งแต่ธนาคารกลางถึงตลาดทุนทั่วโลก

วันตัดสินลด ดอกเบี้ย สหรัฐ ทำไมถึงสำคัญกับ 5 สิ่งของเศรษฐกิจโลก แรงกระแทกส่งครบตั้งแต่ธนาคารกลางทุกแห่งถึงทุกสินทรัพย์ในตลาดทุนทั่วโลก

วันที่ 17 ถึง 18 กันยายน 2024 ซึ่งเหลืออีกเพียงแค่ 2-3 วันข้างหน้า ทั่วโลกเฝ้าจับตายังไม่กระพริบต่อมติครั้งสำคัญที่สุดของดอกเบี้ยระยะสั้นที่มีอิทธิพลมากที่สุดของโลก ซึ่งจะมีการประกาศมติดังกล่าวในวันที่ 18 กันยายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม

ในช่วงที่ผ่านมาวงการตลาดทุนรวมคาดการณ์ว่าแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐสหรัฐหรือที่จะมีขึ้นในกลางสัปดาห์นี้อาจปรับลดมากถึง 0.5% หรืออาจจะปรับลดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพียง 2.5% อย่างไรก็ตามไม่ว่าขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจทั่วโลกถูกประเมินออกมาทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้

  1. ดอกเบี้ยทั่วโลกไม่มีทางเลือก ต้องตามติดดอกเบี้ยสหรัฐ นายเคนเนธ บรอนซ์ หัวหน้าสายงานวิจัยองค์กร อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ธนาคารโซซิเอเต้ เจนเนอรัล ชื่อดังจากฝรั่งเศส เปิด เผยว่า การลดดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดในครั้งนี้ ที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ยังยากที่จะประเมินว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน และปรับลดลงทั้งหมดสุทธิเท่าไหร่ ในอดีตที่ผ่านมา ในปี 1995 เฟดลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งหมดสุทธิ 0.75% ต่อมาในช่วงปี 2007 ถึง 2008 ซึ่งเป็นช่วงเกิดวิกฤติสิริกิติ์สหรัฐอเมริกาเสร็จลงดอกเบี้ยทั้งหมดรวมกันทั้งสิ้น 5% การเริ่มลดดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐจะมีส่วนช่วยให้กับเศรษฐกิจที่มีภาวะชะลอตัวมากกว่าสหรัฐ เช่น แคนาดา เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น บรรดานักลงทุน และนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนคาดการณ์ว่าการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐจะส่งผลให้ธนาคารกลางต่างๆ ลดอัตราดอกเบี้ยในทิศทางขาลงเช่นกัน ที่สำคัญจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้จากทิศทางของดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลง
  2. เพิ่มกระสุนบริหารเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่ ผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐ เป็นที่ชัดเจนว่าจะส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางต่างๆ ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีช่องว่าง หรือมีพื้นที่ในการบริหารจัดการดอกเบี้ยระยะสั้นของตนเอง โดยเฉพาะสามารถใช้มาตรการ หรือนโยบายการเงินต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้เติบโต

จนถึงปัจจุบันนี้ ธนาคารกลางใน 18 ประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคลาตินอเมริกาและ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคยุโรป พบว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นนำหน้าไปก่อนธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา

  1. ดอลลาร์สหรัฐแกร่ง ไม่ร่วงอ่อนอย่างที่คิด ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐสหรัฐ เปิดเผยสถิติ และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ พบว่าในการในแต่ละรอบของการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐนั้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับทุกสกุลสำคัญกับพยานแข็งค่าขึ้นจาก 3 ใน 4 รอบของการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวครั้งล่าสุด สิ่งที่น่าสนใจจะพบว่า ค่าเงินในประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียล้วนทะยานแข็งค่าขึ้นนำก่อนการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเงินริงกิตมาเลเซีย เงินบาทไทย หรือแม้แต่เงินวอนเกาหลีใต้ แต่หลังจากที่เกิดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้ ทิศทางของค่าเงินดังกล่าวในระยะกลาง และระยะยาวจะกลับคืนไปสู่ตรงกันข้ามกัน
  2. ตลาดทุนติดเครื่องร้อนแรงต่อไป เมื่อต้นทุนทางด้านการเงิน หรือดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดลดต่ำลง ยอมส่งผลให้เป็นการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 1 ของโลก รวมถึงส่งผลต่อความคึกคักในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทที่มีความเสี่ยงทั้งระยะกลางถึงระยะสูง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ตลาด ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินคลิปโทเคอร์เรนซี ย้อนกลับไปในเพียงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายนที่ผ่านมา จะพบว่า ตลาดหุ้นโลกเผชิญกับแรงกระหน่ำเทขายอย่างรุนแรงจนส่งผลให้ดัชนีหุ้นโลกดำดิ่งถึงลบ -6% เพียงเพราะการรายงานตัวเลขการว่างงานของแรงงานในสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะการจ้างงานในทุกประเภทของรายงานล้วนลดต่ำลงมากกว่าที่คาดไว้
  3. ได้เวลาทองคำ โลหะมีค่าฉายแสงแรงขึ้น อีกหนึ่งสินทรัพย์การลงทุนที่จะได้รับผลบวกอย่างชัดเจน คือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะสินค้าประเภทโลหะซึ่งหมายถึง ทองคำ ทองแดง เป็นต้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยของเฟดลดลง ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า มีผลทำให้ต้นทุนในการลงทุน หรือถือครองโลหะมีค่าต่างๆ โดยเฉพาะทองคำมีราคาถูกลงอย่างมาก ย้อนกลับไปตลาดซื้อขายทองคำปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา พบว่าทั้งราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Sppt และราคาทองคำส่งมอบล่วงหน้า หรือ Gold Future พุ่งทะยานขึ้นปิดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ และเป็นการปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่สองในเดือนกันยายนนี้
ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles