ฝ่ายวิจัยธุรกิจธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ วิเคราะห์ธุรกิจจําหน่ายรถจักรยานยนต์ในระยะ 1 ปีข้างหน้า พบว่ามีแนวโน้มหดตัว โดยเผชิญความท้าทายจากภาวะ หนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินมีแนวโน้มควบคุมการให้สินเชื่อยานยนต์อย่างเข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ขณะเดียวกันผลจากการเปลี่ยนผ่านจาก ปรากฎการณ์เอลณีโญไปสู่ลาณีญาเร็วขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ส่งผลให้เกิดน้ําท่วมในหลายพื้นที่ กระทบต่อรายได้ภาคเกษตรให้เติบโตได้อย่างจํากัด เมื่อรวมเข้ากับปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาคการผลิต การส่งออก และการลงทุนเอกชนโดยรวมยังเติบโตต่ำ ส่งผลต่อกําลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศให้ฟื้นตัวได้ช้า จะส่งแรงกดดันต่อยอดจําหน่ายรถจักรยานยนต์ให้ชะลอตัวสูงในปีนี้ และอาจต่อเนื่องถึงปี 2568นอกจากนี้ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ของไทยยังคงมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยหนุน บางปัจจัย เช่น นโยบายส่งเสริมและมาตรการอุดหนุนจากรัฐเพื่อจูงใจให้ มีการใช้จักรยานยนต์ EV มากขึ้น การแข่งขันของกลุ่มธุรกิจ Non-bank เพื่อกระตุ้นยอดสินเชื่อรถจักรยานยนต์ก่อนสิ้นสุดปี 2567
โดยสัญญาณที่ต้องจับตานับจากนี้ในปี 2568 ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวลดลง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงตัวเลขสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่หากลดต่ำลงอาจช่วยผ่อนคลายการควบคุมการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินลงได้
ซึ่งประมาณการว่าในปี 2567 ยอดจําหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศจะมีจํานวนรวมทั้งสิ้น 1.69 ล้านคัน ลดลง 8.9%YoY และยอดจําหน่ายฯ ในปี 2568 เติบโตต่ำที่ 2.0%YoY โดยมีจํานวนอยู่ที่ 1.73 ล้านคัน ซึ่งยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเทียบเท่ากับในปี 2565 หรือปี 2566
หากพิจารณาจากยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ในปี 2566 มียอดจดทะเบียนรวมอยู่ที่ 1.88 ล้านคัน ส่วนในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า มียอดรวมเท่ากับ 1.05 คัน ลดลง 9.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ พิจารณาตามรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วนยอดจดทะเบียนสูงสุด คิดเป็น 25.8% ของยอดจดทะเบียนทั้งหมด ด้วยจํานวนทั้งสิ้น 270,132 คัน ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง ตามลําดับ
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ชัดเจนว่า ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ทุกภูมิภาคลดลงจาก ช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคตะวันตกมีการปรับตัวลดลงมากที่สุด 18.3%YoY ส่วนภูมิภาคที่ยังคงปรับตัวลดลงของยอดจดทะเบียนต่อเนื่อง จากปีก่อนหน้า คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
ด้านค่ายรถจักรยานยนต์ยอดนิยม พบว่า ฮอนด้าเป็นผู้ครอง ส่วนแบ่งตลาดสูงสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 78.1% ของยอดจดทะเบียนใหม่ ทั้งหมดในปี 2566 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า โดยช่วง 7 เดือนแรก ของปี 2567 ฮอนด้ายังคงครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดเช่นเดิม ส่วนค่าย รถจักรยานยนต์อื่น ๆ มีสัดส่วนลดเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปัจจุบันตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังคงได้รับการ ส่งเสริมจากรัฐบาลเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ EV ด้วยการเข้าไปสนับสนุนผ่านมาตรการภาษีและการให้เงินอุดหนุน พบว่ามียอด จดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ (ป้ายแดง) ในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2567 อยู่ที่ 16,018 คัน เติบโตถึง 38.7%YoY จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทําให้ปัจจุบันสัดส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าคิดเป็น 1.5% ของยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ทั้งหมด