โนมูระชี้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเป็นวิกฤตรุนแรง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไทยรุนแรงมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และโควิด-19

โนมูระชี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ ไทยเป็นวิกฤตรุนแรง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไทยรุนแรงมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และโควิด-19

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.8 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ต้องเผชิญ กับสถานการณ์ปัจจุบันที่ถือได้ว่าเข้าสู่ขั้นวิกฤตและอนาคตที่ดูจะเต็มไปด้วยแรงกดดันที่รุนแรงรอบด้าน

นายฮาจิเมะ ยามาโมโตะ หัวหน้าสายงานที่ปรึกษา สำนักวิจัยโนมูระ ประเทศไทย ซึ่งเป็นสายงานหนึ่งของสถาบันการเงินโนมูระที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมองได้ว่ากลายเป็นวิกฤตแล้ว และดูเหมือนเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงด้วย ซึ่งไม่มีทางแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่ง่ายดาย สถานการณ์ในปัจจุบันทำให้วงการอุตสาหกรรมยานยนต์มีการประเมินว่าประเทศไทยจะผลิตรถยนต์รวมกันทั้งสิ้นในปีนี้เพียง 1.7 ล้านคัน ซึ่งคาดว่าจะลดลงถึง 200,000 คันเมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2023 ที่ผลิตรถยนต์ทั้งหมดได้ 1.9 ล้านคัน ได้จำนวนการผลิตปีนี้ 1.7 ล้านคันจะประกอบไปด้วย 550,000 คันเป็นยอดผลิตเพื่อขายภายในประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 1.15 ล้านคัน หรือราว 60% จะผลิตเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ

หัวหน้าสายงานที่ปรึกษา สำนักวิจัยโนมูระ ประเทศไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยได้รับแรงกดดันทั้งจาก เพราะว่าตลาดรถยนต์ในประเทศไทยที่ตกต่ำรุนแรงและต่อเนื่อง นอกจากนี้การแข่งขันเพื่อการส่งออกรถยนต์ในตลาดต่างประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น

นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) กล่าวว่า ต้นทุนของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทยสูงมากถึง 30% เมื่อเทียบกับต้นทุนของผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีน ต้องยอมรับกันว่าไทยไม่สามารถที่จะทำต้นทุนได้ขนาดนั้น ปัจจุบันในประเทศไทย มีบริษัทผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เกี่ยวกับชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 2,000 บริษัท และมีการจ้างงานรวมกันถึงประมาณ 700,000 คน
สำหรับยอดขายชิ้นส่วนรถยนต์ในปีนี้ พบว่ามียอดขายสุดตัวลงมากถึง -12% มีมูลค่าอยู่ที่ 519,000 ล้านบาท ถ้าบริษัท หรือซัพพลายเออร์ขนาดเอสเอ็มอีในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต้องปิดตัวลง บริษัทเหล่านี้จะไม่มีวันกลับมาอีกเลย สถานการณ์ในเวลานี้จึงเข้าขั้นวิกฤตที่ รุนแรงมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งของประเทศไทยในปี 2540 หรือเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา และวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ด้วย ถ้าสถานการณ์ยังคงเกิดขึ้นและเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยเรื่อย อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยจะไม่เหลืออะไรเลย

สอดรับกับรองผู้จัดการทั่วไป บริษัท เทคโน เม็ททัล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นตั้งมานานถึง 31 ปี อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนหล่อ และเครื่อง และผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ให้กับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ เช่น โตโยต้า มิตซูบิชิ เป็นต้น ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังการผลิตของโรงงานทั้งสองแห่งของทั้งบริษัทลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40% เมื่อเทียบจากกำลังการผลิตสูงสุด ท่ามกลางคำสั่งซื้อลดลง และจำนวนพนักงานลดน้อยลง เมื่อสิ้นปี 2023 ที่ผ่านมาบริษัทมีจำนวนพนักงานทั้งสิ้น 1,200 คนแต่ในปัจจุบันมีพนักงานเหลืออยู่ประมาณ 900 คน นอกจากนี้บริษัทยังต้องลดชั่วโมงทำงานของพนักงานลงเหลือเพียงแค่ 75% และตัดลดค่าล่วงเวลาทำงาน หรือโอที

เป็นที่ทราบกันดีว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศไทยนั้น มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง หรือโดยประมาณ 50% ของยอดขายทั้งหมดในภาพรวมเป็นยอดขายรถกระบะเชิงพาณิชย์ ในปี 2023 ที่ผ่านมามียอดส่งออกรถกระบะภายไปต่างประเทศรวมกันทั้งสิ้นกว่า 820,000 คัน หรือคิดเป็นการผลิตในสัดส่วนเรา 67% ของการผลิตทั้งหมด แต่สำหรับสถานการณ์ในปีนี้จากต้นปีจนถึงปัจจุบันพบว่าประเทศไทยผลิตรถกระบะเพื่อส่งออกไปต่างประเทศลดลงถึง -8.76% สอดรับกับยอดการผลิตรถกระบะดำดิ่งอย่างรุนแรงถึง -20.51% หรือผลิตได้เพียงแค่ 616,549 คัน สถานการณ์เช่นนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย เนื่องจากมากกว่า 90% ของใช้ชิ้นส่วนรถกระบะ นั้นเป็นการผลิตภายในประเทศไทย ที่สำคัญในอุตสาหกรรมนี้ คิดเป็นมากกว่า 70% ของตลาดชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles