โฆษณาดารา-นักแสดง-อินฟลู ไม่มีผลให้ซื้อสินค้า เกินครึ่งไม่เชื่อคนเหล่านี้ใช้สินค้าจริงตามที่โฆษณา ชอบแถมเยอะชอบลดราคาแรง

โฆษณา ดารา - นักแสดง-อินฟลู ไม่มีผลให้ซื้อสินค้า เกินครึ่งไม่เชื่อคนเหล่านี้ใช้สินค้าจริงตามที่โฆษณา ชอบแถมเยอะชอบลดราคาแรง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน หัวข้อใครจะคุ้มครองผู้บริโภค โดยสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2567 เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า 42.21% ไม่ส่งผลเลย รองลงมา 22.98% ส่งผลมาก มี 19.01% ค่อนข้างส่งผล และ 15.08% ไม่ค่อยส่งผล

ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ใช้สินค้าจากการโฆษณาจริง พบว่า 52.29% ไม่เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง ถัดมา 22.8% เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเป็นบางครั้ง มี 20.53% เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเฉพาะตอนโฆษณาและ 3.89% เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง การโฆษณาสินค้าของดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า 42.21% ไม่ส่งผลเลย รองลงมา 22.98% ส่งผลมาก ถัดมา 19.01% ค่อนข้างส่งผล และ 15.80% ไม่ค่อยส่งผล

ความรู้สึกของประชาชนต่อการโฆษณาสินค้าที่มีของแถมจำนวนมาก และ/หรือ ลดราคาเยอะๆ พบว่า 34.12% จะตั้งข้อสงสัยว่าคุณภาพสินค้าอาจไม่ดี ถัดมา 30.23% เป็นแค่วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ ต่อมา 23.89% ไม่คิดจะซื้อสินค้าที่โฆษณาแบบนี้ มีถึง 19.47% จะตั้งข้อสงสัยว่ามีเงื่อนไขอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า ซึ่งใกล้เคียงกับ 19.24% จะตั้งข้อสงสัยว่าต้นทุนสินค้าน่าจะถูกมาก นอกจากนี้ 17.94% จะตั้งข้อสงสัยว่า สินค้านั้นอาจใกล้หมดอายุการใช้งาน มี 8.63% จะขอเปรียบเทียบคุณภาพกับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ ขณะที่มี 8.17% จะขอเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ อีก 7.02% จะลองสั่งมาใช้ดู และ 4.27% ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้เป็นประจำ จะซื้อสินค้านั้นทันที

การร้องเรียนจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า 41.22% ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ รองลงมา 30.08% ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มี 25.19% ไม่ร้องเรียนใดๆ ถัดมา 15.50% ไปร้องเรียนกับสื่อ น่าสนใจ คือ 12.06% ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง มี 2.60% ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง ขณะที่น้อยที่สุด คือ 0.92% ไปร้องเรียนกับนักการเมือง

การร้องเรียนที่ได้รับความเป็นธรรมเร็วที่สุดจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า 24.81% ไปร้องเรียนกับสื่อ ถัดมา 23.05% ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ต่อมา 15.88% ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง มีเพียง 15.80% ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และไม่ร้องเรียนใด ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน มีแค่ 1.91% ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง และท้ายสุด มี 0.07% ไปร้องเรียนกับนักการเมือง

ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวทำจากกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดารา และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คนดัง

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles