ทีทีบี อนาลิติกส์ ซึ่งเป็นสำนักวิจัยในเครือธนคารทีทีบี เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบในไทยในปี 2567 นี้ ส่งสัญญาณภาวะที่ย่ำแย่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สาเหตุจากยอดหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ใน 6 เดือนของปี 2567 หรือครึ่งปีแรกลดลงมากถึง -14.2% ส่งผลตลาดหดตัวติดต่อกันถึง 6 ไตรมาส หรือ 18 เดือนต่อเนื่อง
สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ยอดหน่วยโอนกรรมสิทธิ์เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบหดตัวที่ 14.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023 ส่งผลให้มีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบในไทยของปี 2567 จะซบเซา ซึ่งประเมินว่าจะหดตัวมากถึง -13.3% ทำให้เป็นการหดตัวถึง 8 ไตรมาสติดต่อกัน หรือถึง 2 ปีต่อเนื่อง
สาเหตุที่กดดันตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยแนวรราบ ได้แก่ จำนวนผู้ซื้อที่อยู่ในวัยสร้างครอบครัวที่มีช่วงอายุ 30-49 ปี และมีความต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบ ได้ลดลง ในปัจจุบันมีจำนวน 19.3 ล้านคน แต่ใน 10 ปีจากนี้ไปมีแนวโน้มจะลดลงเหลือเพียง 17.6 ล้านคน ถัดมาเป็นเรื่องความจำเป็นในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยลดลง เป็นผลจากกฎหมายระบุว่าที่อยู่อาศัยเป็นสินทรัพย์ถาวรที่ส่งต่อเป็นมรดกได้ ในปัจจุบันประชากรไทยส่วนใหญ่มีลูกเพียง 1 คน รวมถึงอัตราการจดทะเบียนสมรสของคนในวัยเจนวาย(Y) ลดต่ำลงเหลือเพียง 55%
ภาวะที่ไม่สมดุลของการปรับเพิ่มกำลังซื้อและราคาบ้าน นอกจากนี้ กำลังซื้อที่เป็นกลุ่มพยุงตลาดใแนทึ่อยู่อาศัยแนวราบ โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดบนมีจำนวนลดลง ส่งผลให้กำลังซื้อที่ซื้อไปแล้วในช่วงเวลาก่อนจะไม่กลับมาซื้อซ้ำอีกในระยะเวลาอันสั้น
ทั้งนี้ ทีทีบี อนาลิติกส์ประเมินว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบในไทยของปี 2568 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ด้วยตัวเลข 214,335 หน่วย หรือหดตัว 4.4%