ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (DHL Global Forwarding) ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งในเครือ DHL Group ภูมิใจนำเสนอศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศแบบมัลติโมดอล “DHL International Multimodal Hub” ในพื้นที่ใหม่ขนาด 480 ตารางเมตร ภายในศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ณ เขตปลอดอากร 3 สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA) ร่วมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) และกรมศุลกากรไทย จัดตั้งศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation Center) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าด้วยมาตรการควบคุมทางศุลกากรที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค
ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย (DHL Global Forwarding Thailand) คือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายเดียวที่พร้อมด้วยคลังสินค้าพิเศษภายในศูนย์ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการขนส่งแบบผสมผสานได้อย่างครบวงจร ตอบโจทย์การขนส่งที่หลากหลายรูปแบบหรือ Multimodal ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถ ทางอากาศ หรือทางทะเล ช่วยให้การขนส่งสินค้าเข้า-ออกประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย และไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลา ลดขั้นตอน และมีความคล่องตัวในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้กระบวนการศุลกากรเป็นเรื่องง่ายตอบโจทย์แบบครบวงจร
“หนึ่งในข้อได้เปรียบหลักของ DHL International Multimodal Hub คือ การเป็นศูนย์กลางขนส่งแบบครบวงจรของ DHL ลูกค้าสามารถดำเนินกระบวนการศุลกากรได้อย่างรวดเร็วภายในกรุงเทพฯ ลดขั้นตอนการเดินทางเพื่อไปดำเนินการยังจุดชายแดน ทำให้สินค้าถึงมือผู้รับปลายทางได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ” คุณวินเซนต์ ยง กรรมการผู้จัดการของ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย กล่าว
DHL International Multimodal Hub มอบสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้:
● ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง
● การยกเว้นเอกสาร Exporter of Record / Importer of Record สำหรับการขนส่งผ่านแดนและการขนส่งแบบ Multimodal
● บริการขั้นตอนทางศุลกากรตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการจัดการสินค้าที่ต้องการเอกสารเฉพาะและการอำนวยความสะดวกในการชำระภาษีและอากรในท้องถิ่น
● ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) เซนเซอร์ตรวจจับและกรงนิรภัยสำหรับสินค้ามูลค่าสูง
● การจัดการใบอนุญาตการขนส่งที่ง่ายดาย โดยสินค้าสามารถนำเข้ามาเก็บไว้ในศูนย์ได้ภายใต้แนวคิด “ศูนย์บริการครบวงจร” ซึ่งช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่รอเอกสาร ตัวอย่างสินค้า และการตรวจสอบ
DHL International Multimodal Hub ผลักดันการเชื่อมโยงทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่าย DHL Asiaconnect และ DHL Asiaconnect+ ซึ่งเป็นเครือข่ายการขนส่งแบบ LTL (Less Than Truckload) ของ DHL ด้วยศูนย์กลางการขนส่งแบบครบวงจรของ DHL ที่ประเทศไทย ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน และจีน เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศลาว ด้วยแนวคิดเปลี่ยนมุมมอง Landlock สู่ Landlink ช่วยสร้าง “จุดเชื่อมต่อที่สำคัญ” ในภูมิภาค โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงกับผู้คนในท้องถิ่นตามแนวคิด “thinking local, acting local” เน้นถึงความสำคัญของการขนส่งทางถนนอันเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันการขนส่งแบบมัลติโมดอล (Multimodal)
“ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ความสามารถในการขนส่งที่จำกัด อัตราค่าขนส่งทางทะเลและทางอากาศที่สูง รวมถึงการปิดท่าเรือและสนามบิน ได้ผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้การขนส่งทางถนนมากขึ้น ขณะนี้เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว ลูกค้าก็ยังคงเห็นถึงความสำคัญของการขนส่งทางถนน โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้
การขนส่งทางถนนมีบทบาทสำคัญในโซลูชันการขนส่งแบบ Multimodal โดยเฉพาะเมื่อต้องขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคหรือกับประเทศจีน การขนส่งสินค้าผ่านรูปแบบการขนส่งแบบผสม เช่น ทางรถไฟและทางถนน สามารถช่วยลดระยะเวลา Door-to-Door (DTD) ได้เร็วกว่าการขนส่งทางทะเล และมีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางอากาศ” คุณบรูโน เซลโมนี รองประธานฝ่ายการขนส่งทางถนนและโซลูชันมัลติโมดอล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ดีเอชแอล โกลบอล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง กล่าว
เอกสารไวท์เปเปอร์ “หนทางสู่อนาคต: นำทางสู่โอกาสของการขนส่งสินค้าทางถนนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้เน้นย้ำ 3 ประเด็นสำคัญสำหรับอนาคตของการขนส่งทางถนนในภูมิภาคนี้:1. การขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Digitalization and Improved Infrastructure
ด้วยธุรกิจจำนวนมากต้องการเสริมสร้างความยืดหยุ่นในซัพพลายเชนมากกว่าเดิม ความต้องการแบบทันทีทันเหตุการณ์และการได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งและสภาพถนนจึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาแล้วของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วยให้สามารถติดตามการขนส่งทางถนนแบบทันที (real-time) ผ่านเซ็นเซอร์และ GPS ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถคาดการณ์ตำแหน่งและเวลาที่สินค้าจะมาถึงได้อย่างแม่นยำ ด้วยแพลตฟอร์มอย่าง myDHLi ช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมและติดตามการจัดส่งในทุกรูปแบบการขนส่ง
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ยังช่วยให้การขนส่งทางถนนและทางรถไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ทางรถไฟใหม่ที่เชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับคุนหมิง และ DHL International Multimodal Hub แห่งใหม่ในประเทศไทย ช่วยทำให้โซลูชันมัลติโมดอลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. นโยบายของรัฐบาลเพื่อการขนส่งข้ามพรมแดนที่ราบรื่น Government Policies to Streamline Cross-Border Freight
โครงการต่าง ๆ เช่น ระบบการผ่านแดนของศุลกากรอาเซียน (ASEAN’s Customs Transit System – ACTS) มุ่งลดปริมาณงานด้านเอกสารลง โดยในปี 2566 หน่วยงานศุลกากรของทั้งสิบประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้การรับรองข้อตกลงว่าด้วยการรับรองสถานะผู้ดำเนินการเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาตของอาเซียน (ASEAN Authorized Economic Operator Mutual Recognition Arrangement – AAMRA) ซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมการค้าขายที่สม่ำเสมอและโปร่งใสในหมู่ประเทศสมาชิก โดย AAMRA ยึดมาตรฐานการรับรองของกรอบ SAFE ขององค์การศุลกากรโลก (WCO) เพื่อให้การเคลียร์สินค้าเร็วขึ้นและได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ที่ได้รับการรับรอง AEO ในอาเซียน
นอกจากข้อตกลงในระดับภูมิภาคแล้ว บางประเทศยังดำเนินการภายในประเทศเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน ตัวอย่างเช่น กัมพูชาและเวียดนามได้ร่วมมือกันในการเพิ่มช่องทางจราจร ณ จุดผ่านแดนที่การจราจรติดขัด
3. วาระสำคัญของความยั่งยืนในการขนส่งทางถนน Sustainable Road Freight Is High on the Agenda
รายงานของ International Data Corporation (IDC) ระบุว่า 45% ขององค์กรในเอเชียจะบูรณาการความยั่งยืนในซัพพลายเชน ภายในปี 2569 ซึ่งการขนส่งสินค้ารวมถึงรถบรรทุก เครื่องบิน เรือ และรถไฟนั้นมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 8% ของทั่วโลก แม้ว่าจะมีทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการขนส่งทางถนน เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าและเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แต่ในแนวทางปฏิบัติยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
“จากรายงาน Global Connectedness ของ DHL กล่าวว่า กลุ่มประเทศที่มีสัมพันธ์มากที่สุดกับประเทศไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (23%), เมียนมาร์ (4%), มาเลเซีย (4%), สิงคโปร์ (3%), เวียดนาม (3%) และกัมพูชา (3%) ประเทศเหล่านี้มีจุดเชื่อมโยงกับประเทศไทยอย่างดีทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคนี้” คุณวินเซนต์ ยง กล่าวปิดท้าย