เมื่อวันที่ 9 มกราคม นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า วันที่ 9 มกราคม 2568 ทั้ง 7 องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้ทำหนังสือถึงน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
นายปรเสริฐกล่าวว่า มาตรการในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลออกมาเพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโต หลังแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัว จากสภาพเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลให้ผู้บริโภคมีกำลังชื้ออสังหาริมทรัพย์ลดลง
อย่างไรก็ดี ในปี 2568 ยังคงเป็นอีกปีที่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องเผชิญกับ“ภาวะยากลำบาก” ผู้ประกอบการต้องตั้งรับสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว และยังคงเปราะบางจากหนี้ครัวเรือนที่มีอัตราสูงขึ้น กดดันการใช้จ่ายอย่างหนักโดยเฉพาะสินทรัพย์คงทนอย่าง “ที่อยู่อาศัย”
ขณะที่สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลกระทบตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 จะขยายตัว 2.3 – 3.3% จากการใช้จ่ายของภาครัฐ การลงทุนของภาคเอกชน การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออก แต่ “การท่องเที่ยว” เป็นเพียงเครื่องยนต์เดียวเท่านั้นที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี ประกอบกับถึงแม้ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยทยอยพื้นตัวจากวิกฤตโควิด 19 แต่ยังคงมีความเปราะบางจากความไม่แน่นอนสูงและฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนัก
“จึงได้มีข้อเสนอให้ภาครัฐ เพื่อพิจารณาต่ออายุมาตรการอสังหาริมทรัพย์ และพิจารณาเพิ่มเติมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ในการช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงานเพิ่มเติม โดยคาดว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ จะช่วยให้ GDP เติบโตเพิ่มขึ้นได้ถึง 1.8% ” นายประเสริฐกล่าว
สำหรับมาตรการที่เสนอ ประกอบด้วย
-ขอพิจารณาต่ออายุมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอสังหาริมทรัพย์ และค่าจดทะเบียนการจำนองจากการซื้อที่อยู่อาศัย คือ การลดอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จากอัตราร้อยละ 2 เป็น ร้อยละ 0.01 และค่าจดทะเบียนการจำนองจากอัตราร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 0.01 โดยหลักเกณฑ์มูลค่าการซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 7 ล้านบาท รวมถึงสามารถใช้ได้กับการซื้อยู่อาศัยทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านมือสอง ซึ่งได้สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และขอให้พิจารณาต่ออายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
-ขอพิจารณาต่ออายุมาตรการวงเงินสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ผ่านธนาคารของรัฐ และ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ
-ขอพิจารณาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568 ลง ร้อยละ 50 เพื่อลดภาระของภาคเอกชนและภาคประชาชน ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่แข็งแรง
-ขอพิจารณาผลักดัน ในการพิจารณาลดขนาดที่ดินของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เพื่อลอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และขนาดของครอบครัวที่มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมาตารการดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการเพื่อแก้ไขประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่องกำหนหนดนโยบายการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
นอกจากนี้ยังทำหนังสือถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพื่อพิจารณาทบทวนมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีใจความว่าในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของภาคอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นธุรกิจหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จึงได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจสังหาริมทรัพย์ในหลายประการ เพื่อประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เชื่อมโยงจำนวนมาก แต่สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ยังคงถดถอยอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยยอดขายใน 9 เดือนแรกของปีลดลงถึง 31% เมื่อเทือบกับปีก่อนแสดงถึงมาตรการจากภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ไม่เพียงพอในการประคับประคองธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างสอดประสานในทิศทางเดียวกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนศรษฐใจ ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพรัพย์ จึงขอให้พิจารณา ทบทวนการใช้มาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการชั่วคราว โดยขอระงับการใช้เป็นเวลา 2 ปี หรือ เท่ากับระยะเวลาของมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ เพื่อประคับประดองและฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อันจะช่วยขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย
หลังจากเมื่อสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ขอเสนอให้ปรับเกณฑ์มาตรการ LTV ใช้สำหรับบ้านหลังที่3 ของคนไทย อันเป็นผลจากโครงสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะเสร็จในอนาคต ทำให้ที่อยู่อาศัยของประชาชนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และจำเป็นต้องมีบ้านหลังที่2 ใกล้กับระบบรถไฟฟ้าซึ่งมีความจำเป็นมากกว่าบ้านหลังแรก และโครงสร้างความต้องการอสังหาริมทรัพย์ไทยเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยนโยบาย LTV อาจสร้างความเหลื่อมล้ำต่อไปในระยะยาว ระหว่างคนไทยที่มีกำลังซื้อและเงินออมน้อยกว่า ที่ต้องพึ่งสินเชื่อในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เปรียบเทียบกับชาวต่างชาติที่ไม่ใช้สินเชื่อ โดยส่วนใหญ่ใช้เงินสดในการซื้อ มีกำลังซื้อ และขนาดเงินลงทุนขนาดใหญ่กว่าอย่างมหาศาล เมื่อเทียบกับขนาดของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย