สิงคโปร์แก้ฝุ่น PM2.5 อยู่หมัดกว่า 11 ปีที่แล้ว ใช้กฎหมายจัดการคนหรือองค์กรเผาป่า ปรับสูงสุดวันละ 50 ล้านบาท ตัดสินผิดติดคุกทันที จัดคว่ำบาตรบริษัททำอากาศเสีย

สิงคโปร์ แก้ฝุ่น PM2.5 อยู่หมัดกว่า 11 ปีที่แล้ว ใช้กฎหมายจัดการคนหรือองค์กรเผาป่า ปรับสูงสุดวันละ 50 ล้านบาท ตัดสินผิดติดคุกทันที จัดคว่ำบาตรบริษัททำอากาศเสีย

รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ ได้แก้ไขวิกฤตมลพิษในอากาศเมื่อปี 2013 จากปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของสิงคโปร์อย่างหนัก ทำให้ต่อมาในปี 2014 รัฐบาลสิงคโปร์ผ่านกฎหมายหมอกควันข้ามพรมแดน หรือ Transboundary Haze Pollution Act ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที กฎหมายนี้เป็นกลไกทางกฎหมายสำหรับควบคุมการดำเนินธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียของบริษัทที่มีที่ตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ สาระสำคัญของกฎหมายนี้ คือ ควบคุมไม่ให้กลุ่มนายทุนเผาป่าเพื่อบุกเบิกพื้นที่การเกษตร โดยเป็นการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่เป็นต้นเหตุอย่างแท้จริง

กฎหมายฉบับนี้ส่งผลให้องค์กรใด หรือบุคคลใดก็ตามที่ทำการเผาป่า หรือเผาพื้นที่ทางเกษตรจนเกิดมลภาวะที่กระทบต่อคุณภาพอากาศของสิงคโปร์ จะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงสุดวันละ 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อวัน สำหรับเพดานค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 50 ล้านบาท นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังมีโทษจำคุกตามความรุนแรงของการกระทำผิดด้วย

รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ไม่เพียงบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว แต่ยังใช้มาตรการคว่ำบาตรสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่อตุลาคม 2015 สภาสิ่งแวดล้อมแห่งสิงคโปร์ระงับการใช้ฉลากเขียว หรือฉลากสิ่งแวดล้อมของบริษัท Universal Sovereign Trading ซึ่งเป็นธุรกิจผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของบริษัท Asia Pulp & Paper Group (APP) บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ผลิตเยื่อและกระดาษของอินโดนีเซีย หลังจากพบความชัดเจนว่าบริษัทดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเผาป่าในประเทศอินโดนีเซีย

กระทรวงสาธารณสุข สิงคโปร์ ใช้เกณฑ์วัดคุณภาพอากาศกำหนดให้ค่ามลภาวะสูงตั้งแต่ 101 AQI ขึ้นไป และอยู่ในระดับสูงติดต่อเป็นเวลา 24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งให้ถือว่าคุณภาพอากาศย่ำแย่ สำหรับค่าปรับนั้นจะคิดตามจำนวนวันที่ก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อให้แหล่งสร้างมลพิษควบคุมและดับไฟให้เร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับในจำนวนมาก ย้อนกลับไปในปี 2013 ประเทศสิงคโปร์เผชิญมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงถึง 417 ไมโครกรัม สูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่าระดับปลอดภัยอยู่ที่ 37.5 ไมโครกรัม

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles