อีก 25 ปีหน้า คนแก่ในไทยจะพึ่งพิงเพิ่มแตะ 50% พุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าจากปัจจุบัน แถมสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ระบบบำนาญทั่วโลกต้องปฎิรูปครั้งใหญ่ ระบบบำนาญไทยตามหลังอีก 5 จาก 8 ชาติในอาเซียน

อีก 25 ปีหน้า คนแก่ในไทยจะพึ่งพิงเพิ่มแตะ 50% พุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าจากปัจจุบัน แถมสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ระบบบำนาญทั่วโลกต้องปฎิรูปครั้งใหญ่ ระบบ บำนาญ ไทยตามหลังอีก 5 จาก 8 ชาติในอาเซียน

นายลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยรายงานบำนาญทั่วโลก หรือ Global Pension Report ครั้งที่ 3 ซึ่งทำการวิเคราะห์ระบบบำนาญทั้ง 71 ระบบทั่วโลก สะท้อนผ่านค่าดัชนี Allianz Pension Index (API) พบว่าทวีปเอเชียโดยเฉพาะ 15 ประเทศ กำลังเข้าสังคมคนชรารวดเร็ว ภายในปี 2050 หรืออีก 25 ปีข้างหน้านั้น อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 43% ที่น่าสนใจคือ อัตราการพึ่งพิงดังกล่าวจะแตกต่างกันมาก เช่น สปป.ลางจะมีอัตราพึ่งพิงตั้งแต่ 14% ขณะที่ฮ่องกงจะมีสูงถึง 95% เมื่อถึงปี 2050 นอกจากนี้ อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในหนึ่งรุ่นของประชากรในทุกประเทศ ยกเว้นญี่ปุ่นที่เป็นสังคมสูงวัยอยู่แล้ว

สำหรับในอาเซียนมีทั้งหมด 8 ประเทศ (ตัวเลขในวงเล็บ คืออันดับโลกจากทั้งหมด 71 ประเทศหรือเขตเศรษฐกิจ) ส่วนจำนวนคะแนนตั้งแต่ 1 คือ กลุ่มไม่จำเป็นต้องปฏิรูป ถึงคะแนน 7 คือกลุ่มที่จำเป็นต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วนพบว่า อันดับ 1 อินโดนีเซีย (28) คะแนน 3.5 อันดับ 2 สิงคโปร์ (31) คะแนน 3.6 อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ (47) คะแนน 3.9 อันดับ 4 เวียดนาม (52) คะแนน 4.1 อันดับ 5 กัมพูชา (55) คะแนน 4.1 อันดับ 6 ไทย (56) คะแนน 4.1 อันดับ 7 สปป.ลาว (69) คะแนน 4.6 และอันดับ 8 มาเลเซีย (70) คะแนน 4.7

ดังนั้นระบบบำนาญของเอเชียจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของประชากรสูงวัย โดยคะแนนรวมเฉลี่ยของเอเชียอยู่ที่ 3.9 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นในการปฏิรูปดังกล่าวจะมีความแตกต่างกันไปในรายละเอียดและในแต่ละประเทศ ในกลุ่มประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วขิงเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ การเสริมสร้างความยั่งยืนในระยะยาวของระบบบำนาญมีความสำคัญมากขึ้น

รายงานบำนาญทั่วโลก ปี 2025 หรือ Global Pension Report 2025 ระบุว่า สำหรับประเทศไทยนั้น ได้คะแนนรวม 4.1 หมายถึงระบบบำนาญของไทยตกอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการจัดอันดับจาก 71 ประเทศทั่วโลก ทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูประบบบำนาญ เนื่องจากระบบบำนาญของประเทศไทยยังครอบคลุมในระดับต่ำ อายุเกษียณที่ต้องเชื่อมโยงกับอายุขัยเฉลี่ย มาตรการที่ต้องเพิ่มเติม เช่น การจูงใจให้มีการออมเพื่อการเกษียณ โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เพื่อแก้ปัญหาภาวะหนี้สินสูงของครัวเรือน ในปัจจุบันจะพบว่า ประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบด้านประชากรอีกต่อไป ซึ่งเป็นผลจากไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจาก 22% เป็น 50% ในอีก 25 ปีข้างหน้า

ขณะที่ประเทศในตลาดเกิดใหม่ของเอเชีย ซึ่งมีกลุ่มประชากรคนชั้นกลาง หรือวัยหนุ่มสาวในสัดส่วนที่มาก เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว นั้น รัฐบาลจะเผชิญความท้าทายในการปรับปรุงระบบบำนาญประเทศ ซึ่งจะต้องมีการแนะนำและขยายระบบบำนาญที่มีการสะสมเงินเต็มจำนวนทั้งจากการทำงาน และส่วนบุคคล นอกจากนี้การทำให้ตลาดแรงงานเข้าสู่ระบบมากขึ้น สาเหตุจากประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้ยังคงทำงานนอกระบบโดยไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม ทั้งนี้ปัญหาที่เกือบทุกประเทศมีเหมือนกันคือ อายุเกษียณภาคบังคับหรืออายุเกษียณขั้นต่ำที่ค่อนข้างต่ำซึ่งไม่สะท้อนการเพิ่มขึ้นของอายุขัยเฉลี่ย

ทั้งนี้ค่าดัชนี Allianz Pension Index (API) มีการนำตัวชี้วัดทั้งหมด 40 ตัวชี้วัดมาพิจารณา โดยให้คะแนนตั้งแต่ 1 คือ กลุ่มไม่จำเป็นต้องปฏิรูป ถึง 7 กลุ่มที่จำเป็นต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ผลรวมถ่วงน้ำหนักของตัวชี้วัดทั้งหมดสะท้อนถึงความจำเป็นในการปฏิรูประบบบำนาญนั้นๆ

บำนาญ , อลิอันซ์ , เกษียณ , การเงิน , อาเซียน , เศรษฐกิจ , BTimes, What’s Up, ข่าวอัปเดต

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles