ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย วิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดว่า การประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. วันที่ 26 ก.พ.นี้ คงอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง กนง.น่าจะรอดูลผลกระทบความเสี่ยงจากนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยประธานนาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งทยอยรายการขึ้นภาษีมาอย่างต่อเนื่อง คาดจะมีความชัดเจนในเดือนเมษายนนี้ และคาด กนง.อาจลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ในปีนี้ ในไตรมาส 2/68
SCB EIC อยู่ระหว่างทบทวนคาดการณ์จีดีพีไทยปี 68 ซึ่งคาดว่าจะชะลอลง มากกว่าปีที่ผ่านมาที่ สภาพัฒน์ประกาศจีดีพีปี 67 โต 2.5% โดยเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการขึ้นภาษีของสหรัฐแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าบริโภคของไทยเปราะบาง โดยแม้ไตรมาส 4/67 แม้จะมีเงิน 1 หมื่นบาท ทยอยเข้าระบบ แต่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย สะท้อนความเปราะบางของการบริโภค บางส่วนนำไปออมเพื่ออนาคต บางส่วนนำใช้หนี้ เพราะหนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง โดยภาพนี้จะยังคงส่งมาถึง/ไตรมาส 1 และ 2 ปีนี้ แม้จะมีเงิน 10,000 บาทเข้าเพิ่มเติมและมีการช้อปลดหย่อนภาษี EASY –E- Receipt ก็ตาม ในขณะที่ภาคการส่งออกปีนี้ก็จะชะลอตัวจากปีที่แล้ว โต 5% โดยปีที่แล้วรวมถึงไตรมาส 1/68 ส่งออกเร่งตัวเพราะหวั่นภาษีสหรัฐ ดังนั้น ในช่วงที่เหลือก็จะชะลอลง
โดยเศรษฐกิจปีนี้มีความเสี่ยงจากภาษีสหรัฐ เศรษฐกิจโลก การใช้จ่ายของรัฐ ก็จะเป็นตัวช่วย ในขณะที่การท่องเที่ยวอาจไม่โตมากนัก เพราะหลังโควิด-19 การท่องเที่ยวโตมาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้นักท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจาก เศรษฐกิโลก จึงมองว่าทุกภาคส่วน รัฐ-เอกชน-ประชาชนต้องปรับตัวทำแผนระยะสั้น กลาง ยาว ทั้งเติมสภาพคล่อง ทั้งแผนสร้างความ เข้มแข็งของประเทศ กระจายสินค้าส่งออกไปตลาด อื่นๆ ลดตลาดสหรัฐ ประชาชน ก็ต้องระมัดระวังความไม่แน่นอน เพราะจะมีผลต่อการจ้างงาน การค้าขาย การใช้จ่ายก็ต้องไม่สร้างหนี้ใหม่ เคลียร์หนี้