เอกชนญี่ปุ่นมองเสน่ห์เศรษฐกิจไทยลดถอยลง คู่แข่งเวียดนามมีแววศก.สดใสที่ 1 ในอาเซียน มองไทยอันดับ 3 แต่คะแนนให้ไทยต่ำมากเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่แค่ ศก.ไทยโตช้าโตต่ำ แต่หุ้นส่วนฝั่งไทยชอบเอากำไรมากเกินไป แถมมีส่วนร่วมในธุรกิจน้อยกว่าที่คิด

เอกชนญี่ปุ่นมองเสน่ห์ เศรษฐกิจ ไทยลดถอยลง คู่แข่งเวียดนามมีแววศก.สดใสที่ 1 ในอาเซียน มองไทยอันดับ 3 แต่คะแนนให้ไทยต่ำมากเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่แค่ ศก.ไทยโตช้าโตต่ำ แต่หุ้นส่วนฝั่งไทยชอบเอากำไรมากเกินไป แถมมีส่วนร่วมในธุรกิจน้อยกว่าที่คิด

ธนาคารความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือเจบีไอซี (JBIC) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเจบิค เปิดเผยผลสำรวจในปี 2024 ของบริษัทและอุตสาหกรรมในภาคการผลิตของประเทศญี่ปุ่น พบว่า ประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจมีแววสดใสมากที่สุดในอาเซียน ได้แก่ อันดับ 1.เวียดนาม ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของอาเซียน อันดับ 2.อินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 3. ประเทศไทย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน ที่น่าสนใจ คือ ไม่เพียงประเทศไทยจะเป็นรองทั้งอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเป็นรองประเทศเวียดนามด้วยนั้น แต่ผลการลงมติให้กับประเทศไทยในผลสำรวจครั้งนี้กลับมีคะแนนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ด้วย

สื่อญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า ยกกรณีจริงเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทกาแฟแบรนด์ดังเนสกาแฟของเนสท์เล่กับบริษัทพีเอ็ม ซึ่งเป็นที่พูดถึงอย่างมากมายในประเทศไทย และมีผลกระทบในวงกว้างเกี่ยวกับการร่วมลงทุนของธุรกิจต่างประเทศกับบริษัทในไทยนั้น ทำให้เห็นปมของปัญหาการทำธุรกิจของชาวต่างชาติในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมกับธุรกิจจากต่างประเทศโดยเฉพาะเมื่อธุรกิจร่วมทุนถึงจุดสิ้นสุดลงในประเทศไทย

กระทรวงการต่างประเทศ ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นประมาณ 5,800 แห่ง การเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยนั้น บริษัทต่างประเทศต้องจัดตั้งธุรกิจในไทย โดยมีหุ้นส่วนชาวไทยถือหุ้นส่วนใหญ่ แต่เป็นระยะเวลามานานสักพักใหญ่ พบว่า ผู้บริหารของบริษัทที่ปรึกษาญี่ปุ่นในประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับการเข้ามาขอบริการคำปรึกษา 2-3 ครั้งต่อปีจากบริษัทค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นที่มีขนาดกลาง โดยบ่นให้ฟังว่าหุ้นส่วนธุรกิจชาวไทยที่ถือหุ้นในบริษัทญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่มักจะรับส่วนแบ่งผลกำไรเป็นจํานวนมากเกินไป

สื่อญี่ปุ่น รายงานว่า ในปี 2023 เครือข่ายร้านสะดวกซื้อแบรนด์ญี่ปุ่นชื่อว่าแฟมมิลี่ มาร์ท (FamilyMart) ยกเลิกสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการค้าปลีกของประเทศไทย และออกจากตลาดประเทศไทยทั้งหมด สะท้อนถึงความยากลําบากในการปรับผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับรสนิยมของคนในประเทศไทย ส่วนสำคัญมาจากการตัดสินใจที่ล่าช้าของรูปแบบการร่วมทุน นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัทในประเทศไทยยังสะท้อนเสน่ห์ดึงดูดการลงทุนที่ลดลงเรื่อยๆ ของประเทศไทย

ทั้งนี้ เมื่อไม่รวมผลกระทบของวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเหลืออยู่ระหว่าง 1% ถึง 4% ซึ่งต่ําที่สุดในบรรดาประเทศที่มีเศรษฐกิจสําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน การชะลอตัวอย่างมากของประเทศไทยของภาคการผลิตในไทยมีผลกระทบอย่างมาก

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles