อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อจากประเทศแคนาดา เปิดเผยว่า ได้ตัดสินใจยกเลิก และถอนข้อเสนอซื้อกิจการเครือข่ายร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีแลฟเว่น (7-11) ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด สาเหตุจากการเจรจาในช่วงที่ผ่านมาเป็นเวลาถึงกว่า 9 เดือนนั้น ไม่มีความคืบหน้าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงแต่อย่างใด
ผู้บริหารระดับสูงสุดของ อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เปิดเผยว่าบริษัท ได้ติดต่อเพื่อที่จะเจรจาอย่างเป็นมิตรกับครอบครัวอีโตะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นของบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ มาโดยตลอด แต่ปรากฏว่าไม่เปิดรับการเจรจาแต่อย่างใด ท่าทีและความเคลื่อนไหวดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงไม่มีความจริงใจ หรือไม่มีส่วนร่วมใดๆ ต่อข้อเสนอดังกล่าวอย่างชัดเจน
ในทางกลับกัน บริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ กลับใช้วิธีการที่ไปสร้างความเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อการปิดบัง และทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียต่อบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ และผู้ถือหุ้นอย่างมาก แนวทางนี้ตอกย้ําความกังวลของบริษัทอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เกี่ยวกับแนวทางการกํากับดูแลของบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ พิจารณาจากพื้นฐานในการขาดการมีส่วนร่วมโดยสุจริตใจ
ความพยายามครั้งสุดท้ายเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมานั้น อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อจากประเทศแคนาดา ได้เพิ่มมูลค่าการเสนอซื้อกิจการเซเว่นอีเลฟเว่นขึ้นเป็น 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.52 ล้านล้านบาท หากประสบความสำเร็จ จะกลายเป็นมูลค่าการเสนอซื้อกิจการธุรกิจญี่ปุ่นที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นจากทุนต่างประเทศ
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2024 ผ่านมา อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อจากประเทศแคนาดา ได้กลับมายื่นเสนอซื้อกิจการบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ด้วยการให้ราคาเสนอซื้อสูงขึ้นอีก 20% มาอยู่ที่หุ้นละ 18.19 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 618.50 บาท รวมมูลค่าเสนอซื้อกิจการเป็น 7 ล้านล้านเยน หรือ 47,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.6 ล้านล้านบาท(ในเวลานั้น) ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนไหวอีกครั้งในรอบ 1 เดือนผ่านมา หลังจากที่เมื่อต้นเดือนกันยายน อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เปิดเผยว่ารู้สึกผิดหวังต่อการปฏิเสธของบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ไม่สนใจข้อเสนอกิจการมูลค่า 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.316 ล้านล้านบาท หรือตกราคาเสนอซื้อหุ้นละ 14.86 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 505.25 บาท
ข้อเสนอใหม่ดังกล่าวนั้นถูกส่งไปให้ บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน แต่ไม่ได้รับการเปิดเผยเป็นข่าวแต่อย่างใด ที่น่าสนใจ คือ ราคาเสนอครั้งใหม่นี้ไม่เพียงมีราคาเพิ่มขึ้นจากราคาเสนอซื้อเดิมถึง 20% แต่ยังมีส่วนต่างราคาสูงมากถึง 53% เมื่อเทียบจากราคาหุ้นเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 กันยายนผ่านมา อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เปิดเผยว่า รู้สึกผิดหวังต่อการที่บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีแลฟเว่น (7-11) ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด ได้ปฏิเสธข้อเสนอกิจการมูลค่า 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.316 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด พร้อมที่จะยื่นข้อเสนอกิจการอย่างเป็นมิตรต่อไปกับเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ด้วยความมั่นใจอย่างมาก เนื่องจากการเสนอกิจการในครั้งนั้น อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด มีเงินสดเกินพอในการซื้อกิจการทั้งหมดของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ นอกจากนี้ พร้อมที่จะทำงานร่วมกับ เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ อย่างใกล้ชิด เพื่อหาช่องทางที่ดีที่สุดในการได้มาซึ่งการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันค้าปลีกในญี่ปุ่น ทำให้ไม่เป็นอุปสรรค หรือข้อจำกัดต่อไป
ขณะที่ปิดตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายนผ่านมา ราคาหุ้นของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ อยู่ที่หุ้นละ 2,133.50 เยน หรือ 14.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่าหุ้นละ 510 บาท ส่งผลให้มูลค่าบริษัทเป็น 5.6 ล้านล้านเยน หรือกว่า 1.32 ล้านล้านบาท
ในวันเดียวกันนั้น บริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีแลฟเว่น (7-11) ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด เปิดเผยว่า ได้ปฏิเสธข้อเสนอซื้อกิจการธุรกิจเซเว่น-อีแลฟเว่น(7-11)ทั้งหมดมูลค่า 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.316 ล้านล้านบาทของอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อจากประเทศแคนาดา โดยระบุเหตุผลสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่ มูลค่าเสนอซื้อกิจการทั้งหมดมีราคาต่ำเกินไป เมื่อพิจารณาเป็นราคาหุ้นจะพบว่าเป็นการเสนอกิจการในราคาหุ้นต่ำกว่า 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือต่ำกว่า 510 บาทต่อหุ้น โดยอยู่ที่หุ้นละ 14.80 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 503.20 บาทต่อหุ้น ราคาดังกล่าวมีราคาเพิ่มเติมถึง 21% จากราคาตลาดปกตินับตั้งแต่เมื่อวันที่มีการประกาศเสนอซื้อกิจการ
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่มีส่วนต่างเพิ่มขึ้นมานั้น ยังต่ำกว่าราคาหุ้น เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ที่มีราคาสูงสุดใน 1 ปี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ผ่านมา นอกจากนี้ การเสนอซื้อกิจการดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการพิจารณาจากหน่วยงานกำกับการแข่งขันทางการค้าว่าเป็นการครอบงำตลาดและการแข่งขัน
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมผ่านมา อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เปิดเผยว่า ได้ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อกิจการค้าปลีกร้านสะดวกซื้อของบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีแลฟเว่น (7-11) ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด
ในขณะเดียวกัน อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด จากแคนาดา ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาข้อเสนอซื้อกิจการทั้งหมดตามที่อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด เสนอมาเป็นทางการ โดยจะมีการพิจารณาและตรวจสอบรายละเอียดของทุกข้อโดยเฉพาะการประเมินมูลค่าซื้อกิจการ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจตอบตกลงหรือไม่ต่อข้อเสนอซื้อกิจการทั้งหมด
มูลค่าของบริษัทบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ อยู่ที่ประมาณ 4.6 ล้านล้านเยน หรือกว่า 31,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.12 ล้านล้านบาท สำหรับข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวในขณะนี้ ยังไม่ได้ระบุถึงความผูกพันในทางข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากในที่สุดข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ จะส่งผลให้อาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อจากประเทศแคนาดา ต้องใช้เงินทุนสูงถึงอย่างน้อย 5 ล้านล้านเยน หรือกว่า 1.2 ล้านล้านบาทขึ้นไป นั่นหมายถึงจะกลายเป็นข้อตกลงซื้อฮุบกิจการของต่างชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
สำหรับอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกสะดวกซื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประเทศแคนาดา ปัจจุบันมีร้านสะดวกซื้อกระจายอยู่ในหลายประเทศ และในหลายทวีป เช่น แคนาดา อเมริกา สวีเดน ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ โปแลนด์ และในหลายประเทศเป็นจำนวนมากภายใต้แบรนด์ชื่อร้านว่า คุช-ทาร์ด และเซอเคิล-เค ปัจจุบัน มีร้านสาขารวมกันทั้งสิ้นกว่า 17,000 แห่งในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แคนาดา พบว่า บริษัทอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด มีมูลค่าตลาดมากถึง 80,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา หรือ 58,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2.11 ล้านล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2020 บริษัทอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด จากแคนาดา ได้เคยเสนอซื้อกิจการบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ มาแล้ว
ด้านผลประกอบการของอาลีเมนเทชั่น คุช-ทาร์ด จากแคนาดา เมื่อสิ้นสุดในปีงบประมาณเดือนเมษายนผ่านมา ปรากฏว่า มียอดขายสูงมากถึง 69,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2.491 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดยอดขายใกล้เคียงยอดขายของเซเว่น-อีแลฟเว่นเว่นของบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ที่ทำได้ราว 11 ล้านล้านเยน หรือราว 2.64 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธุ์ผ่านมา หากในที่สุดข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ จะส่งผลให้ยอดขายรวมทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าร้านสะดวกซื้อรวมเป็น 20 ล้านล้านเยน หรือ 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.86 ล้านล้านบาท กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลกในกลุ่มค่าปลีกร้านสะดวกซื้อของโลก
ทั้งนี้ ทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกร้านสะดวกซื้อล้วนมีเป้าหมายชัดเจนในการขยายเครือข่ายกิจการเป็นระดับโลก บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ปัจจุบันมีร้านสาขากว่า 85,000 แห่ง กระจายอยู่ในกว่า 20 ประเทศและภูมิภาค แต่ภายในปี 2030 มีเป้าหมายขยายเพิ่มเป็น 100,000 สาขาในกว่า 30 ประเทศและภูมิภาค ในอดีตผ่านมา เมื่อปี 2021 บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ ซื้อกิจการแบรนด์ร้านสะดวกซื้อชื่อดังในสหรัฐอเมริกามีชื่อว่า สปีดเวย์ (Speedway)