ระบบบริหารการจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP โดยเป็นระบบบริหารคนจนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) รายงานว่า ครัวเรือนที่ได้รับการสำรวจ (จปฐ)มีจำนวน 12,942,574 ครัวเรือน โดยเป็นครัวเรือน ยากจน จำนวน 197,298 ครัวเรือน ซึ่งเป็นประชากรที่ถูกสำรวจจำนวน 36,130,610 คน พบว่าประเทศไทยมีคนยากจน หรือคนจนเป้าหมายจำนวน 655,365 คน คิดเป็น 1.8% ของประชากรที่ถูกสำรวจ (เป็นตัวเลขจากจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ)
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนคนยากจน หรือคนจนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ 1.เชียงใหม่ 2.นครศรีธรรมราช 3.อุดรธานี 4.กระบี่ 5.บุรีรัมย์ 6.ยะลา 7.เชียงราย 8.สุราษฎร์ธานี 9.ขอนแก่น และ 10.ชัยภูมิ
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนคนยากจน หรือคนจนเป้าหมายน้อยที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ 1.สมุทรสาคร 2.ตราด 3.สมุทรสงคราม 4.แพร่ 5.พังงา 6.อุตรดิตถ์ 7.อำนาจเจริญ 8.กำแพงเพชร 9.ราชบุรี และ 10.ปทุมธานี
รายงานดังกล่าวยังพบว่า คนไทยที่มีความยากจน หรือคนจนเป้าหมาย สามารถแบ่งประเภทความยากจนได้ตาม 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย คนจนสุขภาพ 93,588 คน คนจนความเป็นอยู่ 142,164 คน คนจนการศึกษา 177,418 คน คนจนรายได้ 321,341 คน และคนจนการเข้าถึงบริการรัฐ 1,090 คน
สำหรับจังหวัดที่มีพัฒนาการสูงสุด ซึ่งหมายถึงจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนลดลงมากที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน น่าน ปัตตานี บึงกาฬ ตากภูเก็ต นครศรีธรรมราช สตูล กระบี่ และเพชรบูรณ์ ขณะที่จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนลดลงน้อยที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ นครนายก ตราด ชลบุรี ชัยนาทสมุทรสงคราม มหาสารคาม อำนาจเจริญ อุทัยธานี พะเยา และนครปฐม
โดยความยากจน และจำนวนของคนจน สามารถวัดได้จากดัชนี MPI (Multidimension Poverty Index) ถูกพิจารณาจาก 5 มิติ เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 2565 และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ประกอบด้วย 1.ด้านสุขภาพ 2.ด้านความเป็นอยู่ 3.ด้านการศึกษา 4.ด้านรายได้ และ 5.ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
ทั้งนี้ คำจำกัดความของคำว่า คนจนเป้าหมาย ในประเทศไทย คือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เนื่องจากเป็นคนที่ได้รับการสำรวจว่าจนจาก ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และยังมาลงทะเบียนว่าจนจาก ข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง อ่านเพิ่มเติมสำหรับข้อมูลปี 2566 เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง จปฐ 2565 และ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565