เมอร์เซอร์ (Mercer) เปิดเผยรายงานการจัดอันดับค่าครองชีพในเมืองทั่วโลกประจำปี 2024 หรือ Cost of City Rankings 2024 ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 226 เมืองในทุกทวีปทั่วโลก พบว่า กรุงเทพเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพอยู่ที่อันดับ 129 ของโลก โดยมีอันดับลดลงถึง 20 อันดับเมื่อเทียบจากการจัดอันดับในปี 2023 ผ่านมา และส่งผลให้กรุงเทพเป็นเมืองมีค่าครองชีพอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียนด้วย ขณะที่ กรุงพนมเปญ กัมพูชา กลายเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 1 ในอาเซียน และอยู่ในอันดับ 123 ของโลก ส่วนนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศสปป.ลาว อยู่อันดับที่ 10 ส่งผลเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพถูกที่สุดในอาเซียน และอยู่ในอันดับที่ 211 ของโลก
สำหรับ 10 เมืองในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีค่าครองชีพปี 2024 จากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ 1.สิงคโปร์ (2, ไม่เปลี่ยนแปลง) 2.กรุงพนมเปญ (123, เพิ่มขึ้น 9 อันดับ) 3.กรุงเทพ (129, ลดลง 24 อันดับ) 4.กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ (131, เพิ่มขึ้น 2 อันดับ) 5.กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย (157, ลดลง 6 อันดับ) 6.กรุงฮานอย เวียดนาม (172 ลดลง 16 อันดับ) 7.บรูไน (176 ลดลง 4 อันดับ) 8.เมืองโฮจิมินห์ ซิตี้ เวียดนาม (178, ลดลง 14 อันดับ) 9.เมืองย่างกุ้ง เมียนมา (183, เพิ่มขึ้น 21 อันดับ) 10.กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (200 ลดลง 20 อันดับ) และ 11.นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว (211 ลดลง 2 อันดับ)
สำหรับ 10 เมืองทั่วโลกที่มีค่าครองชีพปี 2024 จากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ 1.ฮ่องกง จีน 2.สิงคโปร์ 3.ซูริค สวิสเซอร์แลนด์ 4.เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ 5.บาเซิล สวิสเซอร์แลนด์ 6.กรุงเบิร์น ซูริค สวิสเซอร์แลนด์ 7.นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 8.กรุงลอนดอน อังกฤษ 9.กรุงแนสซอ บาฮามาส และ 10.ลอส แองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
เมอร์เซอร์ เปิดเผยว่า ส่วนใหญ่ของ 10 เมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดของโลกจะอยู่ในทวีปยุโรปฝั่งตะวันตก ซึ่งใน 10 เมืองแรกนั้น มีถึง 4 เมืองที่อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียและอาเซียนที่กลับกลายเป็นภูมิภาคที่มีเมืองติดค่าครองชีพแพงที่สุดอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ได้แก่ ฮ่องกงและสิงค์โปร์ตามลำดับ นอกจากนี้ เมืองหลวงหรือเมืองสำคัญอื่นๆ ในเอเชียที่น่าสนใจ เช่น อันดับที่ 23 เซี่ยงไฮ้ อันดับที่ 25 กรุงปักกิ่ง อันดันที่ 32 กรุงโซล อันดันที่ 34 เสินเจิ้น อันดันที่ 49 กรุงโตเกียว อันดันที่ 58 ซิดนีย์ อันดับที่ 69 ไทเป อันดันที่ 88 ปูซาน เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในแต่ละเมืองทั่วโลกมาจากภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ตึงตัว ความผันผวนของการเมืองระหว่างประเทศในแต่ละภูมิภาค ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ และสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ภายในประเทศนั้นๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา อัตราภาษี และการศึกษา
ใน 3 เมืองอันดับแรกที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดของโลกประจำปี 2024 ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และซูริค พบว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพงมาก ค่าใช้จ่ายการเดินทางและขนส่งที่สูง และราคาสินค้าและบริการที่มีราคาขายสูงขึ้นมาก เป็น 3 ปัจจัยสำคัญสำหรับใน 3 เมืองนี้ ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยร่วมพื้นฐานในข้างต้น