ตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2024 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 38,150 จุด -317 จุด หรือ -0.82% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 4,845 จุด -79 จุด หรือ -1.61% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ 15,164 จุด -345 จุด หรือ -2.23%
ส่งผลให้ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดร่วงหนักในรอบ 2 เดือน หรือตั้งแต่ธันวาคม 2023 ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดดิ่งหนักในรอบ 5 เดือน หรือตั้งแต่กันยายน 2023 และดัชนีหุ้นนาสแดคปิดทรุดหนักในรอบ 4 เดือน หรือตั้งแต่ตุลาคม 2023 และดัชนีหุ้นนาสแดคยังห่างจากสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 16,057 จุด เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2022 และสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 16,121 จุด
ตั้งแต่ต้นปีนี้ และในเดือนมกราคมผ่านไป พบว่า ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดเพิ่มขึ้น +0.88%, +1.69% และ +1.87%
สาเหตุจากนักลงทุนผิดหวังอย่างรุนแรงกับการแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในคืนผ่านมา ว่า ส่วนตัวไม่คิดว่า คณะกรรมการจะดูเหมือนมีความมั่นใจที่จะลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในรอบการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมีนาคมนี้ การลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมไม่ใช่กรณีพื้นฐานแต่อย่างใดสำหรับกรรมการของเฟด ที่สำคัญ เฟดยังไม่สามารถชนะภาวะเงินเฟ้อ เฟดคิดว่ายังคงมีห้วงเวลาต้องรออีกต่อไป
เป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดดูเหมือนจะเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบการปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่งในปี 2024 นี้ แต่นั่นก็ต้องใช้เวลาอีกมากที่จะต้องเห็นความชัดเจนถ้าหากข้อมูลเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางสนับสนุนให้เกิดการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยลงมา
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ขยายตัวสูงถึง 3.3% ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวที่ 2% ทำให้ตลอดทั้งปีผ่านไป เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเติบโตที่ 2.5% นอกจากนี้ แรงส่งทางจิตวิทยาในการภาวะตลาดหุ้นกระทิงของดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ผ่านมา ยังคงมีผลให้นักลงทุนมั่นใจในภาวะการลงทุนหุ้นสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงอ่อนค่าในรอบ 1 เดือน นอกจากนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุ 10 ปี พลิกลดลงในช่วงแคบๆ
ทั้งนึ้ ตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่าเฟดวอช์ท พบว่ามีโอกาสอยู่ที่ 43.5% จากเดิมที่ 80% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยดังกล่าวครั้งแรก 0.25% ในเดือนมีนาคมปี 2024