ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,291.88 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -0.43 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.01% ส่งผลหยุดทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกในรอบ 7 วันติดต่อกัน ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,304.09 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ ส่งผลหยุดราคาปิดขึ้น 7 วันติดกันรวม +142.57 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +3.22%
ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,311.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -4.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.2% ส่งผลหยุดทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกในรอบ 7 วันติดต่อกัน ที่สำคัญ ส่งผลหยุดราคาปิดขึ้น 7 วันติดกันรวม +155.80 พี่ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +5.54% ตั้งแต่ต้นปีนี้ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 11%
ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาทองคำปิดเพิ่มขึ้น +2.7% เดือนมีนาคมนี้ ทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 9% ทำสถิติทองคำรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปี 8 เดือน หรือตั้งแต่กรกฎาคม 2020 นอกจากนี้ ราคาทองคำปิดขึ้น +8% ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลเป็นราคาทองคำที่ปิดบวกติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 อีกด้วย
สาเหตุจากนักลงทุนเบรกการเข้าซื้อทองคำต่อเนื่องหลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด หลายคนกล่าวถึงมุมมองโอกาสลดดอกเบี้ยแตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้ว่าการเฟด สาขามินนาโพลิส นายนีล แคชคารี่ กล่าวว่าถ้าหากความคืบหน้าของอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยลดลงนั้น กลับไม่มีสัญญาณที่ดีอย่างที่คิดไว้ การลดดอกเบี้ยระยะสั้นอาจจะไม่จำเป็นในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่งขยายตัวได้ท่ามกลางดอกเบี้ยในระดับสูง ในทางตรฃกันข้ามกับผู้ว่าการเฟดสาขาคลีฟแลนด์ นางโลเร็ตต้า เมสเตอร์ มองว่า เฟดอาจเข้าใกล้ระดับความมั่นใจที่เฟดต้องการอย่างแท้จริงในการปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะที่เมื่อวันพุธผ่านมา ประธานธนาคารกลางสหรัฐกล่าวว่า ตัวเลขเงินเฟ้อและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเกินคาดหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองในภาพรวมของนโยบายการเงินในปีนี้
ความรุนแรงและตึงเครียดในสถานการณ์ตะวันออกกลาง สภาทองคำโลก หรือ WGC เปิดเผยว่าธนาคารกลางหลายแห่งโดยเฉพาะธนาคารกลางจีนเพิ่มการซื้อทองคำเข้าสะสมในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงเงินดอลลาร์สหรัฐ
ด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพลิกแข็งค่าขึ้นหลังจากร่วงอ่อนค่าและทรงตัวมาหลายวัน ตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในเดือนมิถุนายนนี้อยู่ที่ 58% จากเดิมที่ 61%