ทองคำไทยปิดตลาดยังแกร่งอีก +300 บาท ปิดแตะ 40,050 บาท สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ 22

สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขาย ทองคำ ในประเทศไทย วันนี้ 3 เมษายน 2567 รวม 8 ครั้ง สุทธิปรับขึ้น +300 ส่งผลราคาทองคำแท่งรับซื้อ 39,450 บาท ราคาขายออก 39,550 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 38,733.80 บาท ราคาขายออก 40,050 บาท ส่งผลเป็นราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่ 22 ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันนี้ นอกจากนี้ มีราคาทองแท่งและทองรูปพรรณสูงสุดระหว่างวันนี้เป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ 39,600 และ 40,200 บาท ตามลำดับ ที่สำคัญ ทำสถิติราคาทองคำรูปพรรณแตะ 40,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ราคาทองคำพุ่งทะยาน +5,900 บาทต่อบาททองคำ ให้ผลตอบแทนพุ่งสูงถึง +17.28%

ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ ปิดตลาดวันนี้ที่ 2,273.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ลดลง -10.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ส่วนเงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 36.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 7 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อคืนผ่านมา ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,276.79 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +36.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.2% ทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,276.89 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ ส่งผลราคาปิดขึ้น 6 วันติดกันรวม +127.05 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.72%

ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,292.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +35.60 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.6% ส่งผลทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ ส่งผลราคาปิดขึ้น 6 วันติดกันรวม +133.50 พี่ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +4.04% ตั้งแต่ต้นปีนี้ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งขึ้นเฉียด 10%

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) และวันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050)

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles