ทองไปต่อ! ตลาดทองคำโลกปลดเบรก ปิดทะลุ 2,390 ดอลล์ ทำสถิติเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

ทองไปต่อ! ตลาด ทองคำโลก ปลดเบรก ปิดทะลุ 2,390 ดอลล์ ทำสถิติเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,372.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +33.95 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.7% ทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันในคืนผ่านมาพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,377.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,390.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +33.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.8% ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ครั้งใหม่

ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาทองคำปิดเพิ่มสูงขึ้นถึง+4% และยังเป็นราคาทองคำรายสัปดาห์ที่ปิดขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่อง จบเดือนมีนาคมนี้ ทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 9% ทำสถิติทองคำรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปี 8 เดือน หรือตั้งแต่กรกฎาคม 2020 นอกจากนี้ ราคาทองคำปิดขึ้น +8% ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลเป็นราคาทองคำที่ปิดบวกติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 อีกด้วย

สาเหตุจากนักลงทุนหวนเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคักหลังจากอัตราเงินเฟ้อผู้ผลิตทั่วไปและขั้นพื้นฐานเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ไม่ได้มากกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หรือเหมือนกับอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปและขั้นพื้นฐานเดือนมีนาคมที่ประกาศเมื่อวันพุธผ่านมา พบว่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ เพิ่มขึ้น 0.4% ทั้งคู่ ซึ่งสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่ม 0.3% สอดรับกับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านไป พบว่าเพิ่มขึ้น 3.5% และ 3.8% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 3.4% และ 3.7% ตามลำดับ

ด้านผลตอบแทนพันธบัตรรัฐสหรัฐอายุ 10 ปี ลดลง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงอ่อนค่าเช่นกัน สะท้อนคลายความกังวลว่าการลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐในปีนี้อาจล่าช้า อย่างไรก็ตาม ธนาคารยักษ์ใหญ่เริ่มทบทวนจำนวนครั้งที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลดน้อยลงกว่าที่คาดไว้

สภาทองคำโลก หรือดับเบิลยูจีซี (WGC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางจีนแผ่นดินใหญ่ซื้อทองคำแท่งอีก 160,000 เมตริกตันเข้าสะสมในทุนสำรองระหว่างประเทศเมื่อเดือนมีนาคม 2024 นับเป็นเดือนที่ 17 ต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินเดีย ตุรกี คาซัคสถาน และอื่นๆ ในทวีปยุโรปตะวันออกเพิ่มการซื้อทองคำเข้าทุนสำรองระหว่างประเทศด้วย

ทั้งนี้ ตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในเดือนมิถุนายนนี้อยู่ที่ 53% จากเดิมที่ 52%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles