สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำ วันที่ 2 มกราคม 2567 ครั้งที่ 3 เมื่อเวลา 11.59 น. ลดลง -50 บาท รวมลดลงสุทธิ -50 บาท ทำให้ทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 33,500 บาท ขายออกบาทละ 33,600 บาท ราคาทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 32,897.60 บาท และขายออกบาทละ 34,100 บาท
ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Spot ที่ตลาดสิงคโปร์เปิดตลาดที่ระดับ 2,066 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ รวมปรับ 3 ครั้ง เพิ่มขึ้นสุทธิที่ 2,069.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่เงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในไทยเปิดตลาดอยู่ที่ 34.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รวมแข็งค่าขึ้นสุทธิ 6 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 34.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2023 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,002.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -27.12 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -1.3% ขณะที่ในช่วงระหว่างวัน มีราคาร่วงลงหลุดระดับ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ มาแตะลึกสุดที่ 1,994.49 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ส่งผลหยุดราคาทองคำส่งมอบทันทีปิดขึ้น 2 วันติดกัน รวม +9.63 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.5%
สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำ วันที่ 30 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการซื้อขายในปี 2023 พบว่า ราคาทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 33,550 บาท ขายออกบาทละ 33,650 บาท ราคาทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 32,942.68 บาท และขายออกบาทละ 34,150 บาท ดังนั้น ราคาทองคำในประเทศไทยปิดปี 2566 มีราคาเพิ่มขึ้นสุทธิ 3,800 บาท หรือมีผลตอบแทนตลอดทั้งนี้ที่ +12.73% ด้านเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐซื้อขายในประเทศในปีนี้ พบว่าเฉลี่ยแข็งค่า 20 สตางค์ หรือราว +0.57% โดยเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 เคลื่อนไหวที่ 34.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นปิดที่ระดับ 34.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566
ในปี 2566 นี้ ราคาทองคำในประเทศไทย ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ราคาทองคำทั้งทองแท่งและทองรูปพรรณ พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ โดยทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 34,300 บาท ขายออกบาทละ 34,400 บาท ราคาทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 33,685.52 บาท และขายออกบาทละ 34,900 บาท