ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาประจำปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง “แก้หนี้เกษตรอีสานอย่างไร ให้ยั่งยืน” ในหัวข้อ “การเงินกับความกินดีอยู่ดีของคนอีสาน” ว่า ธปท. มุ่งที่จะทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี โดยจะต้องมี รายได้ต้องเพียงพอกับรายจ่ายในระยะยาว เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งรายได้รวมของประเทศโตช้าลง ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจากเดิมอยู่ราว 4-5% สะท้อนปัญหาโครงสร้างหลักๆ คือประสิทธิภาพของแรงงานและอัตราการเติบโตของแรงงานที่ชะลอลง ทำให้ในปัจจุบันพบว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเติบโตเพียง 3% ซึ่ง 40% ของการบริโภคที่โตในปี’66 มาจากการบริโภคเพียง 10% ของกลลุ่มรายได้สูง สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มรายได้สูง
ขณะที่เศรษฐกิจอีสานฟื้นตัวช้ากว่าประเทศและทุกภาค มีสัดส่วนรายได้ที่เติบโตช้า ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย พบว่า รายได้ครัวเรือนอีสานน้อยกว่ารายจ่ายถึง 5,396 บาท ซี่งมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ขณะที่ครัวเรือนอีสานพึ่งพาและรับเงินช่วยเหลือถึง 5,024 บาท โดยแรงงานมากกว่า 50% อยู่ในภาคการเกษตร มีการพึ่งพารายได้เพียง 1 รอบต่อปี ทำให้โอกาสในการเติบโตของรายได้ไม่สูงมากนัก
สำหรับ หนี้สินต้องน้อยกว่าทรัพย์สิน ซึ่งหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ไตรมาส 1/67 ของไทยอยู่ที่ 90.8% โดย 1 ใน 3 เป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ เมื่อดูภาระหนี้สินของเกษตรกรไทยพบว่ามีหนี้ก้อนใหญ่เกือบ 5 แสนบาท/ครัวเรือน และหนี้โตเร็วถึง 41%
ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยมักจะมีหนี้จากหลายแหล่ง เช่น ธ.ก.ส. กองทุนหมู่บ้าน ลิสซิ่ง และสหกรณ์การเกษตรซึ่งเกษตรกรมากกว่า 50% มีประสิทธิภาพในการชำระเพียงดอกเบี้ยเท่านั้นขณะที่เกษตรกรภาคอีสานมีทรัพย์สินมากกว่าครัวเรือนอื่นในภูมิภาคและหนี้โตเร็วถึง 65% ซึ่งมากกว่าทุกภาคในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่ารายจ่ายของครัวเรือนอีสานเมื่อเทียบกับรายได้จากการทำงานสวนทางกันอย่างชัดเจน พบว่าในช่วงปี 2556 ครัวเรือนอีสานมีรายได้จากการทำงาน เฉลี่ย 12,754 บาทต่อเดือน ขณะที่รายจ่าย 15,092 บาทต่อเดือน และในปี 2566 พบว่า ครัวเรือนอีสานมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ย 13,280 บาทต่อเดือน ขณะที่รายจ่ายสูงถึง 18,767 บาทต่อเดือน ซึ่งในช่วงระยะเวลา 10 ปี (2555-2566) รายได้จากการทำงานเติบโตเพียง 0.8% ต่อปี ขณะที่รายจ่ายเติบโตถึง 1.27% ต่อปี
ทั้งนี้ เมื่อเกิดช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่าย สิ่งที่ตามมาแบบหนี้ไม่พ้นคือหนี้ การจะแก้ปัญหาโครงสร้างสู่ความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน ก็จะต้องดูให้ครบทุกด้าน ทั้งรายจ่ายและรายได้รวมถึงแก้ปัญหาหนี้สิน ผ่าน 3 แนวทางการเงิน สู่ความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนมีรายจ่ายเยอะขึ้น มาจากค่าครองชีพและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะต้องดูแลรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่สูงเกินไป ได้แก่
1. หน้าที่สำคัญของ ธปท. คือการแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างยั่งยืน ดูแลเสถียรภาพของราคาไม่ให้ค่าครองชีพของคนและเงินเฟ้อสูงเกินไป ซึ่งกระทบความแป็นอยู่ในทุกภาคส่วน กระทบต้นทุนของผู้ประกอบการ กระทบค่าครองชีพของครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนรากหญ้า ดังนั้นการดูแลเงินเฟ้อเป็นส่วนสำคัญในการดูแลครัวเรือนที่เปราะบาง
2. ดูแลให้รายได้โตอย่างยั่งยืน : มาตรการชั่วคราวอาจจะช่วยได้ในระยะสั้น การที่จะเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องจำเป็น ธปท. จึงให้ความสำคัญในการปฎิรูปในเรื่องโครงสร้างประสิทธิภาพแรงงานจึงงจะสร้างรายได้แรงงานอย่างยั่งยืน ธปท. ก็ช่วยเหลือในด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ให้ทุกคนสสามารถเข้าถึงกลไกทางการเงินและระบบสินเชื่อได้
3. แก้ปัญหาหนี้สิน : เราอยากจะเห็นการเติบโตในระดับที่เหมาะสม ธปท. ก็มีมาตรการต่างๆ ในกรปรับโครงสร้างหนี้ เช่น มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม พยายามแก้ปัญหาหนี้สินสูงอย่างเป็นระบบและครบวงจร
ด้าน ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่า เศรษฐกิจอีสานปี 2566-2568 ยังคงฟื้นตัวช้าและเติบโตต่ำกว่าภาพรวมประเทศ คาดว่าจะเติบโตขึ้นเพียง 1% ซึ่งเท่ากับการประมาณการณ์ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของผลผลิต (GRP) ของอีสานในภาพรวมโตเพียงประมาณ 4% แต่รายได้ครัวเรือนต่อปีของอีสานโตเพียง 1% ซึ่งรายได้ครัวเรือนต่อปีของอีสานที่เติบโตเพียง 1% เกิดการก่อหนี้ กระจุกตัวอยู่กลุ่มรายได้น้อย และเป็นโครงสร้างที่เป็นมาตลอดจนถึงปัจจุบัน พบว่าในปี 2556 สัดส่วนรายได้ครัวเรือนอีสานอยู่ที่ 164,000 บาทต่อปี สัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 69% ถือว่าน้อยกว่า 12,000 ต่อเดือนต่อครอบครัว
ขณะที่ปี 2566 รายได้เพิ่มขึ้นต่อครัวเรือนต่อปีอยู่ที่ 181,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 10% ด้านสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 67% แสดงว่ายังมีการกระจายไม่ทั่วถึงและไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้กลุ่มที่มีรายได้น้อยสามารถเลื่อนชั้นรายได้ครัวเรือนให้ดีขึ้นต้องใช้ระยะเวลานานถึง 32 ปี อีกทั้งพบว่าคนอีสานพึ่งพารายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำงานหรือผลิตเองสูงกว่าทุกภาคและมีเพิ่มแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินที่หาได้